Abstract
บทความนี้มีความมุ่งหมายที่จะสรุปแนวคิดในการพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็น พลเมืองโลกในประเทศไทยยุค 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่า ทางเศรษฐกิจ (value-based-economy) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ประเด็นต่อไปนี้ (1) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (2) ทักษะในศตวรรษที่ 21 (3) รายงานของ OECD และ UNESCO เรื่องการศึกษาของประเทศไทย และ (4) นโยบาย การศึกษาในประเทศไทย ได้ถูกสรุปและนำเสนอ พบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้ประเทศ พัฒนาและควรแก่การให้ความสำคัญคือ ต้นทุนทางด้านประชากร (human capital) สถานศึกษาควรให้ความสำคัญต่อการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกควบคู่ กับกระบวนการการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนา คุณลักษณะของพลเมืองโลกใน 3 ด้าน คือ (1) ความรู้ความเข้าใจ (2) ทักษะด้านสติปัญญา และสังคม และ (3) ค่านิยมและทัศนคติที่มีต่อการเป็นพลเมืองโลก แนวทางต่อไปนี้นำเสนอ สำหรับนักเรียนไทยในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยพัฒนาความเป็นพลเมือง โลก ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องความสำคัญของความเป็นพลเมืองโลก การออกแบบกิจกรรมยึด ตามเนื้อหาของหลักสูตรและความสนใจของผู้เรียน และการประเมินผลการเรียนการสอน จะทำเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.5
First Page
86
Last Page
99
Recommended Citation
เหมือนปิ๋ว, ณธรา
(2018)
"การพัฒนาพลเมืองไทยให้มีความเป็นพลเมืองโลกในประเทศไทยยุค 4.0,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
3, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss3/5