Abstract
ข้อมูลขนาดใหญ่ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ ถูกสะสมเพิ่มพูนและเกิดเป็นคลังข้อมูล ขนาดใหญ่ ในวงการการศึกษาเมื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นบนเครือข่ายต่าง ๆ ทำให้เราสามารถดึง ข้อมูลที่อยู่ในระบบเพื่อใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ และอาจค้นพบวิธีการใช้ข้อมูลใหม่ ๆ มากยิ่ง ขึ้น ตามคุณลักษณะที่โดดเด่นของข้อมูลขนาดใหญ่ 3 ประการ ได้แก่ ปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ ความซับซ้อนของข้อมูลและโครงสร้าง และความเร็วในการเกิดของข้อมูล ซึ่งกระบวนใน การจัดเก็บข้อมูล 3 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การจัดเก็บข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล และ 3) การนำเสนอข้อมูล ในแวดวงการศึกษาได้แบ่งข้อมูลออกเป็นสองลักษณะ ได้แก่ ข้อมูล ด้านการบริหาร และข้อมูลกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอการนำประโยชน์จาก การวิเคราะห์ข้อมูลไปใช้งานเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาในหลายรูปแบบ ประกอบด้วยการศึกษา ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาผลลัพธ์ทางการศึกษาและการวางแผนอาชีพ การพัฒนาหลักสูตรและการกำหนดนโยบาย และช่วยให้ข้อมูลด้านการศึกษา อันจะเป็นโอกาส และความท้าทายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาการศึกษาของไทย
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
416
Last Page
435
Recommended Citation
เวชโช, สุธนิต
(2018)
"คิดนอกกรอบ: ยุคของข้อมูลขนาดใหญ่ กับโอกาสในการพัฒนาการศึกษาไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
3, Article 23.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss3/23