Abstract
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การศึกษาไทยในมุมมองระบบ การประกันคุณภาพของโรงเรียน และให้ข้อเสนอแนะผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาเพื่อก้าวไปสู่ ยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21 ต่อไป โดยจากการศึกษาสถานการณ์พบว่า ประเด็นปัญหาหลักของการประกันคุณภาพของโรงเรียนที่มีนัยสำคัญประการหนึ่ง คือ ความ ไม่สอดคล้องกันของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและระบบประเมินคุณภาพ การศึกษาภายนอก ดังนั้น รูปแบบการประกันคุณภาพโรงเรียนรูปแบบ ?STAR Standard? หรือ ?STAR Model? จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากการประเมินคุณภาพ ภายนอกจะสอดคล้องหรือเป็นเกณฑ์เดียวกันกับการประกันคุณภาพภายในและที่สำคัญจะไม่ สร้างภาระงานเพิ่มกับผู้ถูกประเมิน โดยระบบการประกันคุณภาพจะมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ คุณสมบัติของคนไทยที่พึงประสงค์เป็นสำคัญโดยจะต้องทำให้เกิดมาตรฐานใน 4 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน (Student: S) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ (Teaching :T) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ (Administration: A) และ ด้านผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล (Result Based: R)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.19
First Page
345
Last Page
364
Recommended Citation
สถิตยพงศ์, นเรศ
(2018)
"การประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
3, Article 19.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.19
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss3/19