Abstract
วิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรมเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภารกิจที่สำคัญของสถาบัน อุดมศึกษา คือ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าว ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์แบบ เก่ามาสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในลักษณะของ Service Learning Model หรือSL ซึ่งเป็นรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม และเป็นความร่วมมือกันทั้ง 3 ฝ่าย คือสถาบัน อุดมศึกษา นักศึกษา และชุมชนโดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อการพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพสูง กล่าวคือผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถจากการปฏิบัติจริง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ได้จาก การทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกิดจากการสัมผัสกับปัญหาของชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการเตรียมบัณฑิตที่สังคมต้องการตามนโยบายThailand 4.0 บทความนี้ได้นำเสนอ USC- Service Learning Model หมายถึง University ? Student- Community Service Learning Model ซึ่งผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีของการ จัดการเรียนรู้แบบ Service Learning มาสังเคราะห์ได้องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การออกแบบหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การมีความร่วมมือ 3 ฝ่ายคือ สถาบัน อุดมศึกษา นักศึกษา และชุมชน 3) ชุมชนเป็นเป็นผู้กำหนดความต้องการ 4) ความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน 5) การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 6) มีการสะท้อนความ คิดกลับ และการวิเคราะห์ผล นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดบทบาทหน้าที่ ความ รับผิดชอบ และแนวทางปฏิบัติร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายคือ สถาบันอุดมศึกษาได้ทำหน้าที่ในการบริการ วิชาการสู่สังคม และการผลิตบัณฑิต ส่วนนักศึกษาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ จริงชุมชนได้องค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.18
First Page
325
Last Page
344
Recommended Citation
ณ สุนทร, ธนีนาฏ
(2018)
"USC- Service Learning Model: สู่การพัฒนานักศึกษาในยุค Thailand 4.0,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
3, Article 18.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.18
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss3/18