•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและความแตกต่างของการเรียนรู้ของ ชุมชนเพื่อสร้างเสริมความสามารถการจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สู่ความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสังคมโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยจำแนกชุมชนเป็น 2 ลักษณะ คือ ชุมชนที่ มีสินค้าสิ่งบ่งชี้ฯในระยะการสร้างสรรค์ ระยะการคุ้มครอง และระยะการใช้ประโยชน์และ เฝ้าระวังสิทธิ์ อย่างละ 1 ชุมชน รวมเป็น 3 ชุมชน และชุมชนที่ไม่มีสินค้าสิ่งบ่งชี้ฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ ข้างเคียงที่มีบริบทคล้ายกันของพื้นที่ทั้ง 3 ระยะ รวมเป็น 6 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คนใน ชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และอาจารย์/นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของชุมชน ได้แก่ 1.1) ผู้กระทำการ มีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ 1.2) โครงสร้างของชุมชน อธิบายด้วยกฎระเบียบและ ทรัพยากร 1.3) ปฏิสัมพันธ์ อธิบายภายใต้มิติเวลาและมิติพื้นที่ 2) ความแตกต่างของการเรียนรู้ ของชุมชนมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ได้แก่ 2.1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2.2) วิธีการเรียนรู้ และ 2.3) แหล่งเรียนรู้

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.11

First Page

194

Last Page

211

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.