Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด PDCA และ education 3.0 การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน การสอนและการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยสังเคราะห์ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบคู่สัญญาของทิศนา แขมมณี (2545) เป็นหลัก และเพิ่มเติมแนวคิด PDCA และ Education 3.0 แล้วนำไปทดลองใช้เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กับเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิชา 2718105 กระบวนการกลุ่มและประชาธิปไตย ในระดับประถมศึกษา ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน เครื่องมือในการ เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดสุขภาวะ (CUHI: T-Happiness) (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และคณะ, 2555) และแบบสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาตนเอง ผู้วิจัยใช้แบบวัดสุขภาวะ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน นำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบ วัดสุขภาวะก่อนและหลังโดยการทดสอบค่าที (t-test dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลจาก แบบสรุปผลการดำเนินโครงการพัฒนาตนเอง ผลการวิจัย คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แนวคิด พื้นฐาน 5 เรื่อง และ 4 ขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาวะจากแบบวัดสุขภาวะก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาวะไปแปลผลพบว่า อยู่ใน ช่วงคะแนน 126-130 แปลผลได้ว่า นิสิตมีความสุขในชีวิตในระดับปานกลาง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.10
First Page
174
Last Page
193
Recommended Citation
คล้ายมงคล, ยุรวัฒน์
(2018)
"การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด PDCA และ education 3.0,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
3, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss3/10