Abstract
ศตวรรษที่ 21 หรือยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นยุคที่ความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของประชากรในอนาคต ปัจจุบันระบบการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้วตั้งเป้าหมายและให้ความสำคัญในการส่งเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก นักวิชาการหลายท่านต่างเน้นว่า ช่วงปฐมวัย เป็นวัยที่สำคัญยิ่งต่อการบ่มเพาะทักษะนี้ ส่งผลให้กิจกรรมสร้างสรรค์หรือศิลปะสร้างสรรค์ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของชาติ ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง งานวิจัยเกี่ยวกับการค้นพบรูปแบบที่แปลกใหม่ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นมากมาย กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วยกระบวนการคิด 7 ขั้นตอน คือ (1) การตั้งเป้าหมาย (2) การระบุองค์ประกอบ (3) การคิดเชื่อมโยงองค์ประกอบ (4) การนำเสนอรูปแบบและวิธีการ (5) การนำแผนการมาปฏิบัติและปรับปรุง (6) การตัดสินและประเมิน และ (7) การสะท้อนประสบการณ์ เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนโดยนักการศึกษาชาวอเมริกันนำมาทดลองจัดประสบการณ์ตั้งแต่เด็กวัยประถมศึกษาจนถึงวัยมัธยมศึกษา กระบวนการคิดเชิงออกแบบส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังช่วยให้เด็กฝึกฝนความคิดและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาอย่างยั่งยืน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.18
First Page
330
Last Page
347
Recommended Citation
บรรจง, วาทินี
(2018)
"นักออกแบบตัวน้อย: การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
2, Article 18.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.18
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss2/18