Abstract
การพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 มีการกำหนดโครงการสานพลังประชารัฐเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนผ่านโครงการบันทึกความร่วมมือ กิจกรรม หรืองานวิจัยต่าง ๆ โครงการโรงเรียนประชารัฐเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกจัดตั้งขึ้นในบริบทประเทศไทย 4.0 ภายใต้ทฤษฎีระบบ (System Theory) คือ การผนวกกลไกในการบริหารจัดการโรงเรียนระหว่างภาครัฐและองค์กรเอกชน (Input) ภายใต้ความร่วมมือใหม่ (Process) ที่ขับเคลื่อนโดยองค์กรพี่เลี้ยง (ภาคเอกชน) อันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (Output) การบริหารโรงเรียนประชารัฐภายใต้แนวคิดภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ (Full Range Leadership) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผนวกแนวคิดภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) ได้แก่ การบริหารงานแบบปล่อยตามสบาย (LF) การบริหารแบบวางเฉย (MBE) และการให้รางวัลตามสถานการณ์ (CR) กับภาวะผู้นำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ได้แก่ ความใส่ใจต่อปัจเจกบุคคล (IC) การกระตุ้นผู้ตามโดยใช้ปัญญา (IS) การใช้แรงจูงใจในการสร้างแรงบันดาลใจ (IM) และการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (II) เข้าไว้ด้วยกัน ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบจึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเดิม ที่ผู้นำจำนวนหนึ่งมีลักษณะการบริหารแบบปล่อยตามสบาย (LF) การบริหารแบบวางเฉย (MBE) และการให้รางวัลตามสถานการณ์ (CR) อันส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของไทยในภาพรวมตกต่ำ ดังนั้นหากไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการบริหารการศึกษา ปัญหาดังกล่าวจะยังคงอยู่ หากมีการนำนโยบายในการบริหารโรงเรียนประชารัฐ มาใช้ภายใต้แนวคิดภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ ก็อาจนำไปสู่การแก้ปัญหา แบบบูรณาการต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.16
First Page
300
Last Page
313
Recommended Citation
เปียถนอม, ปทุมพร
(2018)
"ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ: ปัจจัยสำคัญในการบริหารโรงเรียนประชารัฐ,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
2, Article 16.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.16
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss2/16