Article Title
การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)กำหนดความต้องการจำเป็นของนักเรียนมัธยมศึกษาแต่ละสังกัดในด้านความใฝ่รู้ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3)เพื่อวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร และตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 665 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบหลายขั้นตอน (multistage-random sampling) ใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ.957 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติภาคบรรยาย สถิติการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple Linear Regression) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกระดับชั้นทั้งสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีความใฝ่รู้ในระดับปานกลาง และมีความต้องการจำเป็นด้านความใฝ่รู้อย่างเร่งด่วน ทุกด้าน 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ พบว่าตัวแปรอิสระที่สามารถทำนายระดับความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจ บรรยากาศในการเรียนรู้ และกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทำนายได้ร้อยละ 67 และ3) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ คือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน และการได้รับการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอจากครอบครัว
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
180
Last Page
196
Recommended Citation
ยินดีสุข, ศรัณย์พร
(2018)
"การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
2, Article 10.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss2/10