Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)กำหนดความต้องการจำเป็นของนักเรียนมัธยมศึกษาแต่ละสังกัดในด้านความใฝ่รู้ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3)เพื่อวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร และตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 665 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบหลายขั้นตอน (multistage-random sampling) ใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ.957 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติภาคบรรยาย สถิติการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple Linear Regression) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกระดับชั้นทั้งสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีความใฝ่รู้ในระดับปานกลาง และมีความต้องการจำเป็นด้านความใฝ่รู้อย่างเร่งด่วน ทุกด้าน 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ พบว่าตัวแปรอิสระที่สามารถทำนายระดับความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจ บรรยากาศในการเรียนรู้ และกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทำนายได้ร้อยละ 67 และ3) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ คือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน และการได้รับการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอจากครอบครัว
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.10
First Page
180
Last Page
196
Recommended Citation
ยินดีสุข, ศรัณย์พร
(2018)
"การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
2, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.2.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss2/10