•  
  •  
 

Abstract

ความใฝ่รู้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะว่าความใฝ่รู้ทำให้เกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้ ใส่ใจสิ่งรอบตัว และชอบพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความใฝ่รู้ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับการท้าทายทางความคิด และการฝึกให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ ซึ่งช่วยให้นักเรียนพึงพอใจ และรับรู้ความสามารถตนเอง นำไปสู่การแสดงลักษณะใฝ่รู้ซ้ำๆจนกลายเป็นนิสัย และหากได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม จะยิ่งส่งเสริมให้พฤติกรรมนี้คงทนยิ่งขึ้น อันจะช่วยให้เยาวชนสามารถปรับตัวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก การพัฒนาความใฝ่รู้ให้แก่นักเรียนจึงเท่ากับเป็นการมอบเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้แก่นักเรียนตลอดชีวิต และสามารถอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.20

First Page

335

Last Page

344

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.