Abstract
ความใฝ่รู้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะว่าความใฝ่รู้ทำให้เกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้ ใส่ใจสิ่งรอบตัว และชอบพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความใฝ่รู้ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับการท้าทายทางความคิด และการฝึกให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ ซึ่งช่วยให้นักเรียนพึงพอใจ และรับรู้ความสามารถตนเอง นำไปสู่การแสดงลักษณะใฝ่รู้ซ้ำๆจนกลายเป็นนิสัย และหากได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม จะยิ่งส่งเสริมให้พฤติกรรมนี้คงทนยิ่งขึ้น อันจะช่วยให้เยาวชนสามารถปรับตัวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก การพัฒนาความใฝ่รู้ให้แก่นักเรียนจึงเท่ากับเป็นการมอบเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้แก่นักเรียนตลอดชีวิต และสามารถอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.20
First Page
335
Last Page
344
Recommended Citation
ยินดีสุข, ศรัณย์พร
(2017)
"แนวทางการพัฒนาความใฝ่รู้: ทางออกสำหรับการดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้,"
Journal of Education Studies: Vol. 45:
Iss.
1, Article 20.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.20
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol45/iss1/20