Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเรียนรู้และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ศึกษาวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และครูวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 315 คน และครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 12 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล 12 โรงเรียน ครอบคลุม 4 ภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียนรู้และการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนประเมินตนเอง 2) แบบสอบถามแรงจูงใจ การเรียนรู้ และวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับครูเป็นผู้ประเมิน แล3) แบบสังเกตแรงจูงใจในการเรียนรู้ การเรียนรู้ และวิธีการเสริมสร้างการเรียนรู้ สำหรับผู้สังเกตการณ์ การสรุปข้อมูลแรงจูงใจและการเรียนรู้วิเคราะห์จากความสอดคล้องของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าจาก 3 แหล่ง คือ นักเรียน ครูผู้สอน และผู้สังเกตการณ์ ส่วนข้อมูลวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจพิจารณาจากความสอดคล้องกันของข้อมูลครูผู้สอนและผู้สังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีระดับแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อยู่ระหว่างระดับ ปานกลาง-สูง ถึง ระดับสูง และนักเรียนส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากภายใน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีระดับการเรียนรู้อยู่ระหว่าง ระดับต่ำ-ปานกลาง 3) วิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ครูส่วนใหญ่ใช้ คือ การกระตุ้นในเกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน และการกระตุ้นแรงจูงใจของนักเรียนด้วยปัจจัยภายใน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.15
First Page
243
Last Page
260
Recommended Citation
แก้วดี, สกลรัชต์
(2017)
"แรงจูงใจและการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์,"
Journal of Education Studies: Vol. 45:
Iss.
1, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.15
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol45/iss1/15