•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของครูนิเทศก์โรงเรียน ในการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ในการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของครูนิเทศก์โรงเรียนและนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างคือ ครูนิเทศก์โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และนิสิตชั้นปีที่ 5 สาขาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการจำเป็นของครูนิเทศก์ในโรงเรียน และ นิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะครู ตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนิสิต สร้างขึ้นตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพครู ของสำนักเลขาธิการคุรุสภา (2556) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย จัดลำดับความสำคัญ (Priority Setting) โดยใช้ดัชนีจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) แบบปรับปรุง และเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของครูนิเทศก์โรงเรียนและนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ครูนิเทศก์โรงเรียนมีความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู มีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.000-0.181 ซึ่งความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต สามอันดับแรก คือ ด้านภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ด้านหลักสูตร และด้านปรัชญาการศึกษา ตามลำดับ 2) นิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพมีความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิตตามมาตรฐานวิชาชีพ มีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.000-0.363 ซึ่งความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต สามอันดับแรก คือ ด้านภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ด้านปรัชญาการศึกษา และด้านหลักสูตร ตามลำดับ 3) การเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของครูนิเทศก์โรงเรียนและนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู พบว่า ครูนิเทศก์โรงเรียนและนิสิต มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิตเหมือนกันในสามอันดับแรก คือ ด้านมาตรฐานความรู้ สาระภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู สาระหลักสูตร และ สาระปรัชญาการศึกษา

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.45.1.14

First Page

226

Last Page

242

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.