Abstract
การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย จากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพและกระบวนการทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านจัดการสุขภาพต้นแบบ 4 หมู่บ้าน ในสี่ภาคของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย ประกอบด้วย 5 หลักการ และ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ 5 ประการ ได้แก่ ความตระหนักรับผิดชอบต่อสุขภาพ, บูรณาการสุขภาพเข้ากับความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต, มีการเรียนรู้อย่างอิสระบนหลักประชาธิปไตย, สอดคล้องกับวิถีท้องถิ่น, และสร้างกระแสสุขภาพในสังคมอย่างต่อเนื่อง และ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. แรงขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านสุขภาพ 2. กระบวนการเรียนรู้ผ่านกุศโลบายท้องถิ่น ใน 7 ขั้น โดยเริ่ม 1) จากการรับรู้ความต้องการเป้าหมาย, 2) การแสวงหาความรู้ที่ชอบ, 3) การกลั่นกรองความรู้ที่ใช่, 4) การตัดสินใจเลือกให้ถูก, 5) การเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากความรู้, 6) การตรวจสอบและประเมินตนเอง, และ 7) แลกเปลี่ยนให้สืบทอด 3. คุณค่าของวิถีท้องถิ่นในด้านภูมิปัญญาและหลักการสุขภาพชุมชน และ 4. โครงสร้างและเงื่อนไขทางสังคม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.7
First Page
96
Last Page
114
Recommended Citation
สุวรรณวงษ์, ยอดชาย; โกวิทยา, มนัสวาสน์; and อมาตยกุล, เกียรติวรรณ
(2016)
"การพัฒนารูปแบบการเรียนตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/7