Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้าน และเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านในระดับมัธยมศึกษา โดยมีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ 1) สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2) สอบถามความคิดเห็นของครูมัธยมศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คนและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 370 คนโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนมากเห็นว่าการจัดการเรียนการสอบแบบการเรียนรู้กลับด้านมีความสำคัญ แต่ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน และแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) บริบทและสภาพแวดล้อม 2) เนื้อหา 3) กลยุทธ์การเรียนการสอน 4) สื่อและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน 5) การประเมินการเรียนการสอน 6) บทบาทของครูผู้สอน และ 7) บทบาทของผู้เรียน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.3
First Page
31
Last Page
47
Recommended Citation
อุดมเศรษฐ์, กิตติพันธ์; สุวรรณณัฐโชติ, ปราวีณยา; and ณ ตะกั่วทุ่ง, อรจรีย์
(2016)
"การเรียนรู้กลับด้าน: โอกาสและความท้าทายในการสอนของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/3