Abstract
ระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษของการก่อตั้งศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาหรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า ?โสตทัศนศึกษา? ขึ้นในฐานะศาสตร์ว่าด้วยการการประยุกต์ เทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อช่วยในการสนับสนุนคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2521) ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจากการประยุกต์อุปกรณ์ช่วยสอน สื่อ วีดิทัศน์ และบทเรียนมัลติมีเดียด้วยตนเอง ไปสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนมีอิสระในการเข้าถึงสื่อและบทเรียนต่างๆ ได้ง่ายดายและสะดวกขึ้น โดยกิจกรรมการเรียนการสอนมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบการเรียนรู้แบบรายบุคคลและแบบกลุ่มซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะบริหารจัดการการเรียนของตนเองได้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถพูดคุย ติดต่อและการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้พร้อม ๆ กันผ่านเครือข่ายสังคม โดยการเผยแพร่ส่งต่อสารในลักษณะนี้จะเรียกว่าไวรัล (Viral) ซึ่งไวรัลจะส่งผลต่อความคิด ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอนิยามของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจากการทบทวนโดย สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology (AECT)) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาขึ้นมาครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) หรือราวเกือบร้อยปีมาแล้ว การเรียนรู้ที่มุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางที่ผู้เรียนรายบุคคลสามารถเลือกรับความรู้ คัดสรรเองตามวัตถุประสงค์เรียนรู้ที่เชื่อมโยงและต่อยอดโครงข่ายตามความคิดของตนเอง (Semantic network) สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ต่อยอดอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งถือเป็นการอภิวัฒน์สมรรถนะและบทบาทของทั้งผู้เรียนและนักเทคโนโลยีการศึกษาในโลกดิจิทัลไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.20
First Page
294
Last Page
313
Recommended Citation
ณ สงขลา, ใจทิพย์; ถังคบุตร, ธีรวดี; เกาไศยาภรณ์, โอภาส; and นาควิเชียร, เฉลิมรัฐ
(2016)
"อภิวัฒน์ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา: จากอนาลอกสู่ศตวรรษนวัตกรรมดิจิทัล,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 20.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.20
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/20