Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบและตัวบ่งชี้คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย วิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย และพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนิสิต/นักศึกษา ดุษฎีบัณฑิตและอาจารย์ประจำในหลักสูตรของ 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเกริก โดยมีประชากร ทั้งสิ้น 280 คน ซึ่งแบ่งออกตามสถาบันซึ่งมีประชากรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 94 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 79 คน และมหาวิทยาลัยเกริก จำนวน 107 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยกำหนดกรอบ และตัวบ่งชี้คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย และวิเคราะห์การบูรณาการแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าและแนวคิดดัชนีชี้วัดแบบสมดุลจากเอกสาร พบว่าได้ตัวบ่งชี้เชิงคุณค่าทั้งหมด 18 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ยังพบว่าการวิเคราะห์คุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทยทั้ง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเกริก พบว่า การประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี และพอใช้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของสังคมภายนอก แต่ต้องไม่ทำให้อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหายไป โดยเฉพาะปี ค.ศ.2015 ประเทศไทยจะก้าวสู่บริบทของประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว นอกจากนั้นนำผลการวิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรมาทำการวิเคราะห์สว๊อตและ ทาวน์เมตทริก เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งพบว่า ทั้ง 3 สถาบันเป็นกลยุทธ์เชิงรุกหรือในสถานการณ์แบบดาวรุ่ง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.2
First Page
14
Last Page
30
Recommended Citation
บุหลัน, กฤษณะ; พลสารัมย์, พันธ์ศักดิ์; and ศิริบรรณพิทักษ์, พฤทธิ์
(2016)
"การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/2