•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษารายด้าน พบว่า ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ การวิเคราะห์ การตีความ การประเมินผล การอนุมาน การอธิบาย และการตรวจสอบแก้ไขตนเองได้ มีความเหมาะสมทุกด้าน และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่ กำหนดรายวิชาสอนการคิดเชิงวิพากษ์เป็นการเฉพาะ และกำหนดให้สอนการคิดเชิงวิพากษ์สอดแทรกในรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความเหมาะสม สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การนิเทศการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน คือด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ค่าสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และค่าต่ำที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.19

First Page

280

Last Page

293

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.