Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามการรับรู้ของผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษานอกระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน ผู้สอนนักศึกษานอกระบบ จำนวน 40 คน และผู้บริหารจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอำเภอจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม (focus group) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก โดยด้านวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผู้สอนนักศึกษานอกระบบและผู้บริหารต่างเห็นตรงกันว่าความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบอยู่ในระดับปานกลาง โดยแสดงพฤติกรรมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้านวิชาการมากที่สุด แนวทางส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย หลักการของการคิดเป็น วิธีการในการส่งเสริม ได้แก่ การทำเรื่องง่ายให้อยากทำ กิจกรรมในการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว วิชาการ อาชีพ และสังคมของนักศึกษานอกระบบ ผู้สอนนักศึกษานอกระบบและผู้บริหาร ควรส่งเสริมและจัดการเรียนการสอนให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความกล้าแสดงออกในด้านต่างๆ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.17
First Page
246
Last Page
266
Recommended Citation
อรวิภา, อรวิภา and สุปัญโญ, วีรฉัตร์
(2016)
"แนวทางส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 17.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.17
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/17