Abstract
งานวิจัยนี้พัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะด้วยกิจกรรมแบบวงจรการเรียนรู้ 5E เพื่อฝึกทักษะการพูด การเขียน และการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนช่างอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ซึ่งสำรวจจากการสัมภาษณ์สถานประกอบการจำนวน 20 แห่ง และสถานศึกษาจำนวน 18 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการพูด การเขียน และการทำงานเป็นทีม และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากรคือผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 2 จำนวน 23 คน ในวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม แผนกไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี งานวิจัยนี้ได้แสดงผลการประเมินทักษะทั้งสามด้านแบบรูบิค ซึ่งทักษะการพูดและการเขียนของผู้เรียนส่วนใหญ่อยู่ระดับพอใช้ ในขณะที่ทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนส่วนใหญ่อยู่ระดับดี ผลการประเมินความรู้แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของวิธีแบบสืบเสาะสูงกว่าวิธีแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนการสอนแบบสืบเสาะระดับมาก
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.15
First Page
218
Last Page
230
Recommended Citation
ศรีศิริวัฒน์, อนุชาติ; โกษียาภรณ์, พูลศักดิ์; น้อยยิ่ง, ภาณี; and แก้วพันธ์, สมศักดิ์
(2016)
"การพัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะเพื่อฝึกทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.15
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/15