Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันชีวิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เกิดจากการผสมผสานทักษะชีวิต กับความสามารถในการฟื้นพลัง เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีจุดมุ่งหมายในการ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของภูมิคุ้มกันชีวิต และ 2) ศึกษาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดภูมิคุ้มกันชีวิต ซึ่งเป็นแบบสำรวจตัวเองที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานที่เป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 210คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิคุ้มกันชีวิตสำหรับบุคคลในวัยทำงานประกอบด้วยองค์ประกอบ 7ด้าน ได้แก่ การจัดการอารมณ์ ความมุมานะ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา ทักษะทางสังคม การรู้ตระหนักรู้ในตน และ ความกล้าเผชิญ 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานมีระดับภูมิคุ้มกันชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (x ? = 3.29, S.D. = 0.32) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตในแต่ละองค์ประกอบพบว่า มีเพียงองค์ประกอบด้านทักษะทางสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (x ? = 2.95, S.D. = 0.93) ในขณะที่ภูมิคุ้มกันชีวิตจำแนกตามองค์ประกอบในด้านอื่นอีก 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีองค์ประกอบด้านการตระหนักรู้ในตนมีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x ? = 3.46, S.D. = 0.53)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.1
First Page
1
Last Page
13
Recommended Citation
สุทธิพันธุ์, กฤติกา; รัตนอุบล, อาชัญญา; and อมาตยกุล, เกียรติวรรณ
(2016)
"ระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
4, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss4/1