Abstract
หลักสูตรอนุบาลสาธิตจุฬาฯ ริเริ่มโดยภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงความสำคัญของช่วงวัยแห่งการเสริมสร้างบุคลิกภาพและทัศนคติที่สำคัญของเด็ก จึงจัดโครงการทดลองสอนชั้นอนุบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 และโอนให้เป็นระดับชั้นหนึ่งของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ในปีการศึกษา 2520 หลักสูตรอนุบาลสาธิตจุฬาฯ ได้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรากฐานสำคัญแก่การดำรงชีวิตในอนาคตของเด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงหลักการเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ให้ความสำคัญในด้านการอบรมและปลูกฝังมโนธรรม มีจริยธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่มุ่งเน้นการสอนหนังสือ เตรียมทักษะที่จำเป็นเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ฝึกให้เด็กปฐมวัยมีคุณสมบัติสำคัญเพื่อการเรียนรู้ 3 ประการ คือ เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด และเป็นตัวของตัวเอง โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก กำหนดระยะเวลาของหลักสูตร 3 ปี มีการจัดเนื้อหาแบ่งเป็นรายหัวข้อ แต่จะมีการผนวกกันของรายวิชาโดยวิธีการบูรณาการ ผสมผสานด้วยวิธีการสอนที่มีความหลากหลายและสามารถยืดหยุ่นได้ มีแนวการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกชนิด เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงความคิดโดยเสรี และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
328
Last Page
340
Recommended Citation
ขำวิจิตร์, อรอุมา
(2016)
"หลักสูตรอนุบาลโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย : ช่างสังเกต ช่างคิด เป็นตัวของตัวเอง SATIT CHULA KINDERGARTEN CURRICULUM FOR EARLY –CHILDHOOD DEVELOPMENT: OBSERVANT,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
3, Article 22.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss3/22