Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 126 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถาม และหาค่าความต้องการจำเป็นในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) ยกร่างรูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล 30 คนและประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คนและ (4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ และ 2) รูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อรูปแบบ คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 งาน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนที่ 4 การนำรูปแบบไปใช้และเงื่อนไขความสำเร็จ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.44.3.2
First Page
17
Last Page
28
Recommended Citation
ชิวปรีชา, เกสิณี
(2016)
"การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 44:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.44.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol44/iss3/2