Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความเสี่ยงทางการตลาดในมุมมองของนักศึกษา ที่ส่งผลต่อความภักดีของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และสนอแนะแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทของ มหาวิทยาลัยราชภัฏโดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการทบทวนทฤษฎี บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยการจัดการความเสี่ยง, การตลาด, การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และงานวิจัย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการระบุปัจจัย ความเสี่ยงในสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ประกอบด้วยปัจจัยความเสี่ยง ด้านการตลาดในมุมมองของนักศึกษาที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3 และ 4 ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นนำ จำนวน 10 แห่ง ซึ่งได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ทั้งสิ้นรวม 571 ชุด และ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ครั้งนี้และได้นำเสนอปัจจัยความเสี่ยงด้านการดำเนินงานของการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้ง 7 ปัจจัย ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติได้มีการจัดกลุ่มและรวมกลุ่มของปัจจัยทำให้เกิดเป็น 7C?s Higher Education ซึ่งเป็นปัจจัยด้านการดำเนินงานของภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา และนำมาสู่การวิเคราะห์ ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเสี่ยงของ การศึกษาระดับอุดมศึกษา (7C?s Higher Education) และความภักดีของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันมีอิทธิพล เชิงบวกต่อกันตามค่านำหนักสัมพันธ์เท่ากับ 0.43 โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.000 ซึ่งสามารถอธิบายถึง ผลกระทบในการดำเนินงานที่มีต่อความจงรักภักดีที่เกิดขึ้นได้ ร้อยละ 18 (R2 = .18) ดังนั้นเพื่อสร้าง ความได้เปรียบทางการแข่งขันองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.43.1.2
First Page
19
Last Page
36
Recommended Citation
กานต์รวีกุลธนา, ณัฐรฐนนท์ and คงมาลัย, อรพรรณ
(2015)
"ความเสี่ยงในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่อความจงรักภักดี ของนักศึกษา: บริบทการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี,"
Journal of Education Studies: Vol. 43:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.43.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol43/iss1/2