•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อพัฒนา วิธีการสำหรับการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และประการที่สองเพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในด้านอัตราความถูกต้อง และอัตรา ความคลาดเคลื่อนของผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบกับข้อสอบที่คัดสรรมาสำหรับ การทดลองเมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยแบบวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ วิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุม แบบเดลฟายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคโปรโตคอลอะลาว์ด ตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 139 คน ซึ่งได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวินิจฉัย การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบจากผู้เชี่ยวชาญ แบบยืนยันการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยประยุกต์เทคนิคการประชุมแบบเดลฟาย แบบสอบถามสำหรับการตรวจสอบความลำเอียงของข้อสอบ สำหรับนักเรียน ชุดข้อสอบสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับการตรวจสอบการทำหน้าที่ ต่างกันของข้อสอบสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ข้อสอบที่คัดสรรมาได้นำมาผ่านการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกัน ของข้อสอบโดยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ด้วยโปรแกรม DDFS 1.0 และโปรแกรม DIFAS 5.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยการตัดสินของ ผู้เชี่ยวชาญที่สำคัญมี 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 การวินิจฉัยการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญ วิธีที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุมแบบเดลฟายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และวิธีที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคนิคโปรโตคอลอะลาว์ด 2) ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านเพศของแบบสอบสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาจากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราความถูกต้องระหว่างวิธี การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีทางสถิติกับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า วิธีที่ 1 การตรวจสอบด้วยแบบวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ มีอัตราความถูกต้องโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 50 และมีอัตราความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ50 วิธีที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุมแบบเดลฟายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีอัตราความถูกต้อง ตามฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญคิดเป็นร้อยละ 0 และมีอัตราความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบคิดเป็นร้อยละ 100 วิธีที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคนิคโปรโตคอลอะลาว์ด มีอัตราความถูกต้องโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 25 และมีอัตราความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.43.1.1

First Page

1

Last Page

18

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.