Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เปรียบเทียบผลการประมาณค่า พารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธีการประมาณค่าภาวะ น่าจะเป็นสูงสุดชายขอบ (MML) และวิธีการปรับเรียบเคอร์เนล (KS) ๒) วิเคราะห์สัดส่วนของขนาด ตัวอย่าง ความยาวของแบบสอบ และเปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ ในการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบระหว่างวิธี MML และวิธี KS ที่ส่งผลต่อค่าประมาณพารามิเตอร์ ความสามารถของผู้สอบ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ข้อมูลจำลองภายใต้การเขียนคำสั่งการจำลอง ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรม R จากเงื่อนไขในการศึกษา ๒๗ เงื่อนไข ดังนี้ [ขนาดตัวอย่าง ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๓๐๐ ๕๐๐ และ ๑,๐๐๐ แทนตัวอย่างขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ตามลำดับ) x (ความยาวของ แบบสอบ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๑๐ ๒๐ และ ๔๐ ข้อ แทนความยาวของแบบสอบสั้น ปานกลางและยาวตาม ลำดับ) x (เปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืน ข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๑๐ ๒๐ และ ๓๐ เปอร์เซนต์) ผลการวิจัยในภาพรวมสรุปได้ว่า ๑) ผลการวิเคราะห์ เปรียบเทียบค่าประมาณพารามิเตอร์ ความสามารถของผู้สอบ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธี MML และวิธี KS กรณีข้อสอบ ที่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบโดยรวมด้วยวิธี MML มีค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (AMSE) น้อยกว่าวิธี KS และกรณีข้อสอบ ที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้ โมเดลการตอบสนองข้อสอบ การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบโดยรวมด้วยวิธี MML มีค่า AMSE มากกว่าวิธี KS ๒) ผลการวิเคราะห์สัดส่วนของขนาดตัวอย่าง ความยาวของแบบสอบ และเปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง พบว่า ภายใต้เงื่อนไขการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบด้วยวิธี KS สำหรับแบบสอบที่มีเปอร์เซนต์ ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาด ตัวอย่างและจำนวนข้อสอบร่วมกันส่งผลต่อค่าดัชนี AMSE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (F=3.398, p=.01)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.42.3.2
First Page
19
Last Page
38
Recommended Citation
จันตะเสน, นัยนา; กาญจนวาสี, ศิริชัย; and ตังธนกานนท์, กมลวรรณ
(2014)
"การเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม : วิธีการประมาณค่าภาวะน่าจะเป็นสูงสุดชายขอบและวิธีการปรับเรียบเคอร์เนล,"
Journal of Education Studies: Vol. 42:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.42.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol42/iss3/3