Abstract
นานาชาติให้การยอมรับว่าการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกระตุ้นความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ของโลกในศตวรรตที่ ๒๑ ที่เน้นการเป็นสังคมฐานความรู้ หลายประเทศจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริม สถาบันการศึกษาในฐานะกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของวงจรทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งประกอบด้วยการ สร้างสรรค์ การป้องกัน และการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในด้านการ ส่งเสริมบทบาทสถาบันการศึกษาในด้านนี้นับตั้งแต่มีการปฏิรูปกฎหมายเพื่อส่งเสริมทรัพย์สินทาง ปัญญาซึ่งได้ประกาศใช้กฎหมายสำคัญโดยเฉพาะ ?Bayh-Dole Act? ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ กฎหมายดังกล่าว ส่งผลต่อความสำเร็จของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาทิ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งก่อตั้งซิลิคอน แวลเลย์ เป็นต้น รัฐบาลของหลายประเทศจึงได้หันมาให้ความสำคัญกับการถ่ายทอด เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ได้มีการประกาศกฎหมาย ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ และกฎหมาย พิเศษเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่เรียกกันว่ากฎหมาย ?Bayh-Dole ภาคญี่ปุ่น? เป็นต้น ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๕ มีการประกาศนโยบายมุ่งสู่ ?การเป็นประเทศที่สร้างบนฐาน ทรัพย์สินทางปัญญา? พร้อมกับตรากฎหมายพื้นฐานว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนสาธารณรัฐเกาหลี ก็ได้ประยุกต์รูปแบบการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอเมริกาโดยมีการตรากฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และกฎหมายเพื่อส่งเสริมการศึกษา และความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผลจากการประยุกต์ใช้รูปแบบของสหรัฐอเมริกาทำให้ ทั้งสองประเทศต่างประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยทำบทบาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อพิจารณาจากจำนวนสิทธิบัตรที่จดทะเบียนและมูลค่าจากการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ในเชิงพาณิชย์ การศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาจึงเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับ การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม และสิทธิบัตร
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.42.3.11
First Page
175
Last Page
193
Recommended Citation
รักษ์พลเมือง, ชนิตา
(2014)
"การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา,"
Journal of Education Studies: Vol. 42:
Iss.
3, Article 12.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.42.3.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol42/iss3/12