•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์ระดับการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒) วิเคราะห์ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ๓) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา ด้านนโยบายการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นหน่วยในการวิเคราะห์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวน ๓๓๕ โรงเรียน ภายใต้ความ ดูแลของ ๔๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบ ด้วย ตัวแปรระดับโรงเรียน และตัวแปรระดับ สพม. ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน ๓๓๕ คน และครูผู้สอนที่อยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๖๓๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (Multivariate analysis of variance: MANOVA) วิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus และวิเคราะห์เนื้อหา จากการสนทนากลุ่มสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า ๑) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งภาพรวม ( X = 3.16) และรายด้าน ( X อยู่ระหว่าง ๓.๑๐ ถึง ๓.๒๓) ๒) ภูมิภาค ที่ตั้งและขนาดของโรงเรียนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติของ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีระดับการปฏิบัติที่มากกว่าโรงเรียน ที่มีขนาดเล็กกว่า และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางมีการปฏิบัติมากที่สุด ( X = 3.48) ส่วนโรงเรียนที่ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปฏิบัติน้อยที่สุด ( X = 2.97) ๓) ชุดปัจจัยในระดับโรงเรียนและ ชุดปัจจยั ระดบั สพม.สามารถทำนายหรอื อธบิ ายการนำนโยบายการจดั การความรสู้ กู่ ารปฏบิ ตั ขิ องโรงเรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษาไดร้ อ้ ยละ ๖๖.๘ และ ๙๐.๘ ตามลำดับ โดยปัจจัยภายนอกองค์การที่สำคัญที่สุดในทั้ง ระดับโรงเรียนและระดับ สพม. คือ ด้านลักษณะและทรัพยากรนโยบาย และปัจจัยภายในองค์การที่สำคัญ ที่สุด คือ ด้านลักษณะผู้บริหารองค์การ ๔) สำหรับแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียน มี ๒ ประการ คือ ๑) จัดตั้งสำนักงานการจัดการความรู้ภายในหน่วยงานทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ๒) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้น การฝึกปฏิบัติและประเมินผลการอบรมจากชิ้นงานที่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้ สพม. และโรงเรียน ปรับปรุงปัจจัยภายในองค์การให้เอื้อต่อการจัดการความรู้เพิ่มมากขึ้นในทุกด้าน

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.41.3.4

First Page

48

Last Page

65

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.