•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย ๒) นำเสนอกระบวนทัศน์ที่พึงประสงค์ของการบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย และ ๓) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยายประชากรคือ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย คณบดีคณะครุศาสตร์ ประธานสาขา อาจารย์ นักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ ๒ ? ๕ บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต จำนวน ๔๖๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า ?ที? (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้เทคนิค Modif ied Priority Needs Index (PNImodif ied) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ๑) สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ บริหารสาขาตามกระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิมมากกว่ากระบวนทัศน์การบริหารแบบใหม่ทั้งในสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากระบวนทัศน์การบริหารแบบใหม่ ๕ ด้าน จาก ๘ ด้าน ส่วนอีก ๓ ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารแบบใหม่สูงกว่ากระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิม๒) กระบวนทัศน์ที่พึงประสงค์ของการบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการสร้างจิตสำนึกในสังคม (ค่าเฉลี่ย = ปฐมวัย ที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ๑) นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาสังคม (ค่าเฉลี่ย = ๔.๖๐) และ๒) ปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสำนึกที่คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวม (ค่าเฉลี่ย = ๔.๕๒) และ ๓) กลยุทธ์การพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัยของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย ๕ กลยุทธ์หลัก คือ ๑) กลยุทธ์การบริหารสาขาการศึกษาปฐมวัย๒) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ๓) กลยุทธ์การพัฒนาอาจารย์และนักศึกษา ๔) กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และ ๕) กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายการศึกษาปฐมวัย ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ควรจะส่งเสริมให้สาขาการศึกษาปฐมวัยมีการพัฒนากระบวนทัศน์การบริหารในด้านต่างๆ ดังนี้ ๑) ด้านจิตสำนึกในสังคม ๒) ด้านยึดหลักธรรมาภิบาล ๓) ด้านสังคมฐานความรู้และ ๔) ด้านเครือข่าย

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.40.1.8

First Page

100

Last Page

114

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.