•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยเรื่อง ?การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ? ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ๒) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในประเทศไทย ๓) เพื่อจัดทำรูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ ญาติที่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น ที่อาศัยใน ๕ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออก และภาคใต้ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ ๑) ขั้นตอนการวิจัย เป็นการศึกษาเอกสาร การศึกษากรณีตัวอย่างที่ดี และการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ญาติ บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น๒) ขั้นตอนการพัฒนา เป็นการพัฒนารูปแบบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลการให้บริการการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของประเทศไทยและต่างประเทศ และการเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของประเทศไทย พบว่า กรณีศึกษาที่ดีของประเทศไทยเป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนโดยรวม โดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการเตรียมความพร้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขสำหรับในต่างประเทศ พบว่า มีการดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นระบบในการหาความต้องการ การวางแผน การจัดทำโครงการ การดำเนินการและการประเมินผล โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรม ตลอดจนมีการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ ๒) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทางกายมากที่สุด สำหรับความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษา/เรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีความต้องการด้านความเชี่ยวชาญของวิทยากร/ผู้สอนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความต้องการ การส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพสำหรับผู้สูงอายุ ระหว่างบุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น พบว่า มีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๑๐ ๓) รูปแบบและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ พบว่า แบ่งออกเป็น ๕ รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สาม รูปแบบศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน รูปแบบเมือง/ชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบชมรมผู้สูงอายุ/สโมสรผู้สูงอายุ และรูปแบบการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุตามอัธยาศัย และแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ๔ หลักสำคัญ คือ (๑) การกำหนดเนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้ (๒) การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้(๓) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้ และ (๔) การวิจัยและพัฒนา

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.40.1.2

First Page

14

Last Page

28

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.