•  
  •  
 

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒) สร้างและพัฒนาโปรแกรมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ ๓) ศึกษาผลการทดลองใช้โปรแกรมฯการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ การสร้างและพัฒนาโปรแกรม และการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ซึ่งผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมาแล้ว ๒ ภาคการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น๒๔๔ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยกึ่งทดลอง คือ นิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน ๓ คู่ (๖ คน) แบ่งเป็นนิสิตกลุ่มทดลอง ๓ คน และนิสิตกลุ่มควบคุม ๓ คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบวัดระดับความสามารถในการคิดไตร่ตรอง แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน และแบบสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) นิสิตมีปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ๕ประเด็น (๑) ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวน และขั้นตอนการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (๒) ขาดความชัดเจนของรูปแบบการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนว่าควรเป็นการทำวิจัยแบบ ๕ บท หรือการทำวิจัยแบบ เล่มเล็กหลายเล่ม (๓) นิสิตมีภาระงานมาก ประกอบกับการทำวิจัยต้องใช้เวลามาก และนิสิตไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ ทำให้ไม่มีเวลาในการทำวิจัย และรู้สึกว่าการทำวิจัยเป็นการเพิ่มภาระงาน (๔) ขาดงบประมาณในการทำวิจัย และ (๕) ปัญหาที่เกิดจากตัวนิสิตเองเช่น ความเกียจคร้าน ความไม่สม่ำเสมอในการจดบันทึก ๒) โปรแกรมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการคิดไตร่ตรองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านระบบการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๔ แบบ คือการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง การชี้แนะ การเขียนบันทึกหลังการสอนอย่างไตร่ตรอง และการเขียนกรณีศึกษา ๓) ผลการทดลองใช้โปรแกรมฯ พบว่าสามารถพัฒนาการคิดไตร่ตรองของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมฯ ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมฯ ในกรณีศึกษาที่ ๑ และ ๒

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.39.2.7

First Page

85

Last Page

103

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.