Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันโดยใช้วิธีการ ออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลในด้านความเข้าใจที่คงทน และศึกษาพัฒนาการของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กลุ่มทดลอง กลุ่มเดียวและมีการทดสอบหลังทดลอง ๒ ครั้ง เพื่อออกแบบและหาประสิทธิผลของการจัดการเรียน การสอนเรื่องฟังก์ชัน โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๒๑ คน ใช้เวลา ๑๐ สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ วัดความเข้าใจเรื่องฟังก์ชัน (หลังการทดลอง และหลังการทดลอง ๓ สัปดาห์) ใบกิจกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการผ่านเกณฑ์เป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้การทดสอบทวินาม การทดสอบทีแบบรายคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป มีความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันแต่ละด้านผ่านเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๑๐ ภายหลัง การทดลอง ๓ สัปดาห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีความคงทนของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันแต่ละ ด้านและ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการของความเข้าใจเรื่องฟังก์ชันทั้งสามด้านดีขึ้น อย่างเป็นลำดับ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.39.2.5
First Page
54
Last Page
67
Recommended Citation
วงษ์ใหญ่, ปิยวดี and น่วมนุ่ม, ไพโรจน์
(2011)
"การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องฟังก์ชันเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่คงทนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง,"
Journal of Education Studies: Vol. 39:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.39.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol39/iss2/5