•  
  •  
 

Abstract

รายงานการวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง(นันทศรีวิบูลย์บำรุง)เป็นโครงการย่อยของ โครงการวิจัยหลัก เรื่องโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา (๑) บริบทของ โรงเรียน (๒) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนาโรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่ได้ดำเนินการตามโครงการ ๑๗ โครงการ (๓) ผลการดำเนิน โครงการ ๑๗ โครงการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อการพัฒนา โรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบสภาพ แวดล้อมของโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (๔) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการ ๑๗ โครงการที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิต ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในโรงเรียนและผลกระทบที่มีต่อชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยจาก การเก็บข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง (นันทศรีวิบูลย์บำรุง) โดยเก็บ ข้อมูลจากแบบสอบถามและสังเกตการณ์และบันทึกการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ตามแผนพัฒนาสถาน ศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ของโรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง (นันทศรีวิบูลย์บำรุง) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเวลา ๒ ภาคการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ๑) โรงเรียนวัดบางอ้อยช้าง(นันทศรีวิบูลย์บำรุง) เป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี บริเวณโรงเรียนเป็นที่ตั้งของวัดบางอ้อยช้าง มีครูรวมทั้งสิ้น ๑๔ คน จำนวน นักเรียนทั้งหมด ๑๖๗ คน เป็นนักเรียนชายส่วนมาก และมีนักเรียนหญิงจำนวน ๗๔ คน สัดส่วน ครู: นักเรียน คือ ๑ : ๘ ๒) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนา โรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า การพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ประกอบ ด้วย ๔ แผนงาน ๑๗ โครงการ ๓) ผลการดำเนินโครงการ ๑๗ โครงการ พบว่าด้านการจัดการเรียน การสอน ครูปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเอื้อซึ่ง กันและกัน ครูมีองค์ความรู้และได้รับประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านบุคลากร ครูมี ความกระตือรือร้นมากขึ้น โดยมีผู้อำนวยการและครูหัวหน้าวิชาการและประกันคุณภาพคอยให้กำลังใจ อยู่เสมอ ด้านนักเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ มีจิต สาธารณะ มีระเบียบ มีมารยาท แต่งกายสะอาดเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใส มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์และตรงต่อเวลา ๔) ผลกระทบของการพัฒนาที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตใน โรงเรียนและผลกระทบต่อชุมชนพบว่าชุมชนยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในขณะที่มีการพัฒนา ในหลายด้านกล่าวคือ ด้านกระบวนการเรียนรู้ของครู ครูสามารถปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีองค์ความรู้และได้รับประโยชน์ในเรื่อง การจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา ด้านสถานศึกษา โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด นนทบุรี ในการจัดตรวจสุขภาพอนามัย โรงเรียนมีการดำเนินการออกเสียงตามสายเพื่อให้ความรู้แก่ ชุมชน และครูจัดการเรียนการสอนแก่ชุมชนเพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน โดยบุคคลภายนอกได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ ด้านชุมชน วัดและชุมชนให้ความร่วมมือกับ โรงเรียน พระและชาวบ้านช่วยงานโรงเรียน ชุมชนพอใจกับภูมิทัศน์ที่ได้รับการพัฒนา

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.39.2.2

First Page

11

Last Page

25

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.