Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Growth differentiation factor 15 (GDF-15), for diagnosis of cardiac allograft rejection

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

ศริญญา ภูวนันท์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1484

Abstract

ที่มา: Growth differentiation factor 15 (GDF15) เป็นดัชนีทางชีวภาพตัวใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบขึ้นโดยสารตัวนี้จะถูกหลั่งออกมาจากเซลล์เพื่อตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ มีการศึกษาถึงประโยชน์ของสาร GDF15 ในการพยากรณ์โรคต่างๆอาทิ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation และ โรคลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดปอด แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยหลังเปลี่ยนหัวใจ วัตถุประสงค์: การศึกษาวิจัยนี้ถูกจัดทำเพื่อประเมินหาความสัมพันธ์ของระดับ GDF 15 ในเลือดกับการเกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อหัวใจในผู้ป่วยหลังเปลี่ยนหัวใจ (acute cardiac allograft rejection) โดยการวินิจฉัยจากการตัดชิ้นเนื้อ วิธีการวิจัย: จำนวนชิ้นเนื้อที่สามารถเก็บรวบรวมได้ทั้งหมด 115 ชิ้นจากผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ 37 คนในระยะเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2019 วิธีการเก็บเลือดเพื่อหาค่า GDF 15 นั้นจะทำก่อนการตัดชิ้นเนื้อหัวใจ สาร GDF15 จะถูกนำไปแช่แข็งและวิเคราะห์โดยวิธี Elecsys® assay (บริษัทโรช ประเทศเยอรมันดี) ชิ้นเนื้อหัวใจ 112 ชิ้นจากทั้งหมดถูกนำมาเปรียบเทียบกับสาร GDF15 ในเลือด สำหรับเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะต่อต้านเนื้อเยอะแบบเฉียบพลันนั้นทางผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานจากสมาคมเปลี่ยนถ่ายหัวใจและปอดปี 2004 และจากชิ้นเนื้อทั้งหมด 112 ชิ้น มี 60 ชิ้นได้จากผู้ป่วยใหม่ท่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจ นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้เก็บตัวอย่าง GDF15 ก่อนการเปลี่ยนหัวใจของผู้ป่วยจำนวน 9 คน อีกด้วย ผลการวิจัย: จากตัวอย่างจำนวน 112 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของสาร GDF15 ในเลือดคือ 1,818 pg/ml (IQR: 510-100000 pg/ml) ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อยู่ที่18 สัปดาห์ (IQR: 1-267 สัปดาห์) จากผลชิ้นเนื้อทั้งหมด มีชิ้นเนื้อที่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อแบ่งตามระดับความรุนแรงดังนี้ 0R = 92 (83%), 1R= 18 (16%) และ 2R = 1 (1%) การศึกษาพบว่าระดับ GDF15ในเลือด หลังการเปลี่ยนหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับการต่อต้านเนื้อเยื่อแบบเฉียบพลัน สำหรับในผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจทั้งหมด 60 ตัวอย่างจากผู้ป่วย 11 คนมีการค้นพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับ GDF 15 อยู่ที่ 2,255 pg/ml (IQR: 567-100,000 pg/ml) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้ออยู่ที่ 6 สัปห์ดา (IQR: 1-31 สัปดาห์) จากการสึกษาพบว่าระดับของ GDF15ในเลือดหลังการผ่าตัดค่อยๆต่ำลงจนต่ำสุดในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากนั้นจะสูงขึ้นอีกรอบในสัปห์ดาที่ 4 สำหรับตัวอย่าง GDF15 จำนวน 9 ตัวอย่างซึ่งเก็บจากผู้ป่วยก่อนได้รับการเปลี่ยนหัวใจ ค้นพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตายและการใช้อุปกรณ์พยุงหัวใจ (p=0.0004) โดยมีค่า GDF15 ที่ใช้ในการพยากรณ์ผลลัพธ์หลังการผ่าตัดอยู่ที่ระดับ 8,158 pg/ml มีค่า sensitivity และ specificity ที่ 100% สรุป: 1.ระดับ GDF15 ในเลือดหลังการเปลี่ยนหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับการต่อต้านเนื้อเยื่อแบบเฉียบพลันหลังเปลี่ยนหัวใจ 2. ระดับ GDF15 จะลดลงจนต่ำที่สุด 3 สัปห์ดาหลังการเปลี่ยนหัวใจ 3. ระดับ GDF15 ก่อนผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นเครื่องมือทีดีในการพยากรณ์ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนหัวใจในเรื่องการตายและการใช้เตรื่องผยุงหัวใจ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Growth Factor Differentiation 15 (GDF-15) is a novel biomarker responsible to inflammatory response and cellular stress. GDF-15 has been shown to be a prognostic factor in heart failure, atrial fibrillation, and pulmonary thrombosis. However, the role of GDF-15 has not been studied in acute cellular rejection after heart transplant. Objectives: The objectives of this study were to evaluate the association between post-transplant GDF-15 concentration and acute cellular cardiac allograft rejection. Methods: One hundred and fifteen serum samples were collected consecutively in thirty-seven post heart transplant recipients undergoing routine endomyocardial biopsy from May 2019 to December 2019. Serum samples were taken from vascular access prior to endomyocardial biopsies. GDF-15 levels were measured using Elecsys® assay (Roche Diagnostics, Germany). Of 115 serum samples, 112 posttransplant samples were matched to endomyocardial biopsies in 32 patients; 3 biopsies were considered as inadequate tissue samples for histological analysis. Acute cellular rejection (ACR) was diagnosed and graded according to the 2007 ISHLT criteria. Of 115 post-operative serum samples, 60 sequential samples were taken in 11 de novo transplant recipients who had operation during May-December 2019. Among 11 de novo heart transplant patients, 9 preoperative samples were taken prior to anesthesia induction. Post-transplant adverse outcomes included composite endpoints of death and primary graft failure/ right ventricular failure requiring mechanical circulatory support. Results: In 112 post-operative serum samples, the median GDF-15 concentration was 1,818 pg/dl (IQR: 510 – 100,000 pg/dl), with the median time of serum collection of 18 weeks (IQR: 4-267 weeks) posttransplant. Of 112 endomyocardial biopsies, 92 (83%), 18 (16%), and 1 (1%) were graded as ISHLT grade 0R, 1R, and 2R, respectively. Post-transplant GDF-15 concentration was not associated with acute cellular rejection. In 60 sequential serum samples in 11 de novo heart transplant recipients, the median GDF-15 concentration was 2,255 pg/dl (IQR: 567 – 100,000 pg/dl), with the median time of serum collection of 6 weeks (IQR: 1-31 weeks)Conclusions: (1) Post-transplant GDF-15 concentration was not associated with acute cellular rejection.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.