Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of an instructional process based on strategic planning and lateral thinking approaches to enhance chemistry innovation abilities of undergraduate students
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
วิชัย เสวกงาม
Second Advisor
พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
หลักสูตรและการสอน
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1436
Abstract
การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต แบ่งการดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างวิจัยได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งลงทะเบียนในรายวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 15 สัปดาห์ รวม 60 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีและแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มีขั้นตอนของกระบวนการ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ระบุเป้าหมายจากปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ตนและกำหนดกลยุทธ์ ขั้นที่ 3 ดำเนินกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรม ขั้นที่ 4 ตรวจสอบผลการใช้กลยุทธ์ ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษามีระดับของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.74 และมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีสูงขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมทางเคมีจากการระบุปัญหาของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง พร้อมทั้งวางแผนสร้างผลงานผสมผสานด้วยองค์ความรู้ทางด้านเคมีอย่างเป็นระบบด้วยแนวทางที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมที่แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This current research and development research aimed to improve and study the effectiveness of an instructional process based on strategic planning and lateral thinking approaches to enhance chemistry innovation abilities of undergraduate students. The research procedures were divided into 4 phases: 1) studying the state and problem and determining a research framework; 2) developing the instructional model; 3) evaluating the effectiveness of the developed instructional process, and 4) improving the prior developed instructional process after the implementation. The participants were the fourth-year undergraduate students who registered the Chemistry of Natural Product course, selected by purposive sampling. The duration for implementing the instructional process was 15 weeks, 60 hours in total. The research instruments include the assessment form for chemistry innovation abilities and a learning log form. Data were analyzed using mean, standard deviation, and t-value and the qualitative data were subjected to the content analysis. The research results can be concluded that the developed instructional process for enhancing chemistry innovation abilities of undergraduates were composed of an objective and 4 steps, as namely 1) set a problem-based goal, 2) analyze oneself and draw up a strategy, 3) implement the strategy, and 4) revise the strategy outcome. Having implemented the developed instructional process, the results revealed that the students had an average score of chemistry innovation ability at a good level with a mean of 78.41% and SD of 11.74. The average score was also greater than specific criteria (70%) with a statistical significance level of .05. The results also suggested that undergraduates have a higher innovation chemistry ability and can identify the target’s problem and adopt the related chemistry knowledge for systematically designing the chemistry innovation with a suitable approach leading to efficient problem-solving chemistry innovation.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เสริมบุญไพศาล, เธียรดนัย, "การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9812.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9812