Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Relationships among activities of daily living capabilities, family support, quality of life and mental health in the elderly in Laplae District, Uttaradit province
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1406
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนจากครอบครัว กับคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 381 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือน สิงหาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, t-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.9) มีอายุเฉลี่ย 70 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 85.3) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 42.5) รองลงมาไม่ได้ประกอบอาชีพ และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 34.1 และ 16.0 ตามลำดับ) มีรายได้ประจำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท/เดือน (ร้อยละ 78.2) มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 59.6) การพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่กับบุตร (ร้อยละ 64.04) และไม่ได้เป็นสมาชิกของชมรมหรือสังคม (ร้อยละ 69.6) ส่วนมากมีโรคประจำตัว (ร้อยละ 68.5) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 58.79) เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 31.76 และ 23.62 ตามลำดับ) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มติดสังคมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.12 ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.14 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.63 ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.73 จากการหาความสัมพันธ์ พบว่า อาชีพหลัก รายได้ประจำ สถานภาพสมรส โรคประจำตัว สถานะโรค ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และการสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านคะแนนสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ พบว่า อายุอาชีพหลัก รายได้ประจำ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และการสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่าคุณภาพชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ (r = 0.669, p < 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุไทย และเป็นแนวทางในวางแผนการให้การดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมอย่างเหมาะสม นำไปสู่การพัฒนาและเป็นแบบอย่างของการดูแลผู้สูงอายุต่อไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
A cross-sectional descriptive study was conducted to identify the association between the ability to perform activities of daily living (ADL), family support, quality of life and mental health in the elderly living in Laplae district, Uttaradit Province. A total of 381 elderly persons aged 60 years and above were selected using multi-stage sampling. Data were collected by questionnaires during August - October 2019. Data were analyzed by using descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation. The relationships were then analyzed by using Chi-square, t-test, One-way ANOVA and Pearson's correlation coefficient The results show that most of the subjects were women (65.9%), mean aged 70 years, the highest level of education in elementary school (85.3%), were agriculturist (42.5%), regular monthly income less than 3,000 baht (78.2%), married (59.6%), currently lived with child (64.0%) and were not members of a club or society (69.6%). Most of them had medical problems (68.5%) such as hypertension (58.8%), diabetes (31.8%), and dyslipidemia (23.6%). Most of the participants were in the social-bound group (mean = 19.12), were supported by the family in the moderate level (mean = 2.14), and their overall quality of life were in the moderate level (mean = 92.63). Approximately half of the participants had average mental health. Age, occupation, regular income, abilities to perform ADL, and family support were associations with the level of mental health in the elderly with statistical significance. There were associations between related factors such as occupation, regular income, marital status, medical problems, disease status, abilities to perform ADL, family support and quality of life in the elderly with statistical significance. Moreover, the results also show the moderately positive correlation between quality of life and mental health in the elderly (r = 0.669, p < 0.001). The results of this study would be beneficial for understanding quality of life and mental health in Thai elderly. In addition, this study can be the model of a care plan for the elderly by supporting them to be taken care appropriately of their physical, mental, and social health in order to develop and promote the elderly care system.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จีนเฮ็ง, ธัญญารัตน์, "ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนจากครอบครัว กับคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9782.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9782