Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Digital communication and health care behaviors of employees at port authority of Thailand, Khlong Toei district, Bangkok
Year (A.D.)
2019
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศิริมา ทองสว่าง
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2019.262
Abstract
การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย และศึกษาปัจจัยการใช้สื่อสังคมด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method) คือ วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 100 ชุด สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) ได้แก่ สถิติค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percent) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน(Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน(Pearson’s Correlation) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียแมน(Spearman’s Correlation) ผลการเก็บข้อมูลจากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน พบว่า พนักงานการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 30-39 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 20,001-30,000 บาท และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 78 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อเฟซบุ๊ก(Facebook) คิดเป็นร้อยละ 86 ส่วนการรับข้อมูลด้านสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ของหน่วยงานการท่าเรือฯ ส่วนใหญ่รับสื่อผ่านช่องทางไลน์(Line) จากหน่วยงานสำนักแพทย์และอนามัยการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับประโยชน์ด้านความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพและสังเกตความผิดปกติของตนเอง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทัศนคติการรับข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้าน การจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความถี่ของสื่อสุขภาพออนไลน์ของหน่วยงาน การท่าเรือฯที่กระตุ้นให้มีการดูแลสุขภาพมากขึ้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการจัดการความเครียดและการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this thesis were to study health care behaviors and health social media usage of Port Authority of Thailand employees and to study health social media usage factors related to health care behaviors of Port Authority of Thailand employees in Khlong Toei District, Bangkok. This study was a mixed methods research through quantitative and qualitative research. 100 copies of online questionnaires were used as a research instrument to collect data. Data were then analyzed using descriptive statistics such as frequency, percent, mean, and standard deviation as well as inference statistics, including independent sample t-test, One-way ANOVA, Pearson's Coefficient analysis, and Spearman's Correlation Analysis. The results indicated that according to the survey of 100 samples, most of them were females, between 30-39 years old, graduated with a bachelor's degree, and earned monthly income between 20,001-30,000 baht. Most of the samples did not report their congenital disease (78 %).In addition, most of the samples used social media to expose to health information via Facebook (86%), meanwhile exposure to health information via online media from the Port Authority of Thailand’s divisions and bureaus was conducted via LINE application from Bureau of Medicine and Health under the supervision of Port Authority of Thailand. They received benefits from basic knowledge in health care and observing their own disorders. Most of the samples had high level of health care behaviors in disease prevention. Furthermore, the results of the research revealed that personal factors, namely gender, age and income were positively related with health care behaviors in disease prevention with a statistical significance level of .05. The attitude towards exposure to health information via online media was positively related with health care behaviors in stress management with a statistical significance level of .05. The health care promoting frequency using online health media of Port Authority of Thailand’s divisions and bureaus was positively related with health care behaviors in stress management and disease prevention at a statistical significance level of .05.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จีนโต, วริษฐา, "การสื่อสารยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7128.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7128