Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Self-objectification, eating disorders and mental health of senior high school female students in Bangkok
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1400
Abstract
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินตนเสมือนวัตถุ ความผิดปกติในการกิน และสุขภาพจิตของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 395 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการประเมินตนเสมือนวัตถุ แบบประเมินทัศนคติและพฤติกรรมการกินฉบับภาษาไทย และแบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 17.65 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) ส่วนใหญ่มีระดับสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 39.7 ค่าเฉลี่ยของการประเมินตนเสมือนวัตถุเท่ากับ 3.64 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51) ความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติในการกิน (EAT ≥ 12) พบร้อยละ 23.8 การประเมินตนเสมือนวัตถุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ การเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง (r = 0.847) ความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง (r = 0.673) ความเชื่อเรื่องการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง (r = 0.647) และความผิดปกติในการกิน (r = 0.340) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และการประเมินตนเสมือนวัตถุมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.153, p < 0.01) ปัจจัยทำนายโอกาสเกิดความผิดปกติในการกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีประวัติโรคทางจิตเวช (ORadj = 7.01, 95% CI 1.11-44.35) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบิดาที่มากกว่า 15,000 บาท (ORadj = 1.80, 95% CI 1.03-3.14) ระดับการศึกษาของมารดาที่สูงกว่าหรือเท่ากับปริญญาตรี (ORadj = 1.91, 95% CI 1.16-3.14) และการเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเองในระดับสูง (ORadj = 3.13, 95% CI 1.72-5.73) สรุปได้ว่าการประเมินตนเสมือนวัตถุและด้านย่อยทั้ง 3 ด้าน อันได้แก่ การเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง ความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง และความเชื่อเรื่องการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผิดปกติในการกินและสุขภาพจิตที่ต่ำลง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินตนเสมือนวัตถุในกลุ่มวัยรุ่นผู้หญิงซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการกินและปัญหาสุขภาพจิตได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study was a cross-sectional descriptive study. The objective was to study about self-objectification, eating disorders, and mental health of senior high school female students in Bangkok. The total participants were 395. The instrument of this study including demographic data questionnaire, self-objectification questionnaire, the Eating Attitudes Test-26 in Thai version (EAT-26), and Thai Mental Health Indicator-15 (TMHI-15). The results were found that mean age of participants was 17.65 year-of-age (SD = 0.53). Most participants had fair mental health status (39.7%). Mean of self-objectification was 3.64 (SD = 0.51), Participants who had eating disorders (EAT ≥ 12) were found 23.8%. Self-objectification was positively correlated with the factors, namely body surveillance (r = 0.847), body shame (r = 0.673), control belief (r = 0.647), and eating disorders (r = 0.340), significantly (p < 0.01). Self-objectification was negatively correlated with mental health status, significantly (r = -0.153, p < 0.01). The significant predictors for eating disorders, namely, presence in mental illness (ORadj = 7.01, 95% CI 1.11-44.35), father’s income higher than 15,000 baht/month (ORadj = 1.80, 95% CI 1.03-3.14), and mother’s educational level in bachelor’s degree and higher (ORadj = 1.91, 95% CI 1.16-3.14), and body surveillance in high level (ORadj = 3.13, 95% CI 1.72-5.73). In summary, self-objectification and 3 domains including body surveillance, body shame, and control belief were positively correlated with eating disorders and poor mental health status. It was concerned that self-objectification could lead eating disorders and negative psychological outcomes in female.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ขาวดา, กันต์ชานนท์, "การประเมินตนเสมือนวัตถุ ความผิดปกติในการกิน และสุขภาพจิตของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9776.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9776