Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Resilience and the associated factors of family caregivers in terminal illness patients of Cheewabhibaln Center, King Chulalongkorn Memorial Hospital

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1399

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความยืดหยุ่นทางอารมณ์และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาการวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) ศึกษาเฉพาะญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่เป็นผู้ป่วยของศูนย์ชีวาภิบาล ที่ส่งปรึกษาศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 150 คน โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562-มกราคม พ.ศ. 2563 คัดเลือกการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ศึกษาเฉพาะญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพศชายและหญิงทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ที่ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 1 เดือนขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยการให้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแล 3) แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วย 4) แบบประเมินความยืดหยุ่นทางอารมณ์ 5) แบบวัดการเห็นคุณค่าของตนเอง 6)แบบสอบถามภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า 7) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และ 8) แบบประเมินความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว ผลการศึกษา ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย จำนวน 150 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 47 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพคู่และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่ได้ประกอบอาชีพ ผู้ป่วยที่ดูแลส่วนใหญ่เป็นบิดา/มารดา กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 54) มีระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 1 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย พบว่า ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีค่าคะแนนความยืดหยุ่นทางอารมณ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 69.73 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.76) ส่วนใหญ่ญาติผู้ดูแลรู้สึกว่าไม่เป็นภาระ ในการดูแล(ร้อยละ 54.7) มีการเห็นคุณค่าของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 75.3) พบภาวะวิตกกังวลร้อยละ 30.7 และพบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 12.7 ส่วนใหญ่มีการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมและแยกเป็นรายด้าน ทุกๆด้าน (ด้านอารมณ์ ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านทรัพยากรและวัตถุ) อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.0 ร้อยละ 64.7 และร้อยละ 66.7) และมีหน้าที่และความสัมพันธ์ในครอบครัวระดับดี (ร้อยละ 66.0) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ปานกลางถึงสูงของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ได้แก่ การไม่ใช้ยานอนหลับ การไม่มีภาวะวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมและทุกๆด้านในระดับปานกลางถึงสูง (p<0.05) ปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นทางอารมณ์ระดับปานกลางถึงสูง ได้แก่ การไม่ใช้ยานอนหลับ (p<0.05) และการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมระดับปานกลางถึงสูง (p<0.01) สรุป ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์ต่ำกว่าในประชากรทั่วไป โดยพบในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยานอนหลับและการสนับสนุนทางสังคมต่ำ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้ลดความเครียดกังวล เกิดการผ่อนคลายและสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น รวมถึงการหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objectives: The current study aspired to examine resilience and associated factors of family caregivers of the terminal illness patients in Cheewabhibaln Center, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods: This descriptive study was conducted among 150 family caregivers who were referred to receive additional care from Cheewabhibaln Center, King Chulalongkorn Memorial Hospital. The data collecting period was from September 2019 to January 2020. The sample group was recruited through the purposive or judgmental sampling method from both male and female family caregivers who had been taking care of the terminal illness patients for at least one continuous month. The participants completed eight questionnaires including; 1) Demographic Characteristics Form, 2) Caregiving Data Form, 3) Zarit Caregiver Burden Scale 4) Conner-Davidson Resilience Scale Questionnaire (CD-RISE), 5) The Revised version of Thai Rosenberg Self-Esteem Scale: Revised Thai RSES, 6) Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS), 7) Social Support Questionnaire and 8) Family Relationship and Function Questionnaire. Results: The total numbers of the family caregivers of the terminal illness patients were 150 people which most of the participants were female with average age of 47 years old. Additionally, the majority of the target group were married, finished undergraduate degree, and not working. Furthermore, most terminal illness patients were related to the participants as parents. More than half (54.0%) had duration of care less than 1 year. It was found that the average scores of resilience in family caregivers of the terminal illness patients were 69.73 (standard deviation = 13.76). Most of the family caregivers reported that it was not a burden to take care of the patients (54.7%) and had moderate self-esteem (75.3%). Thirty-eight point six percent had anxiety and twelve point seven percent had depression. Most of them had moderate overall social support and in each social support dimension (emotional, informational, tangible with 68%, 64.7% and 66.7% respectively) and had good family relationship and function (66.0%). In addition, factors associated with moderate-to-high level of resilience in family caregivers of the terminal illness patients included no use of sedatives/hypnotics, no anxiety, and moderate-to-high level of overall social support, and of each dimension of social support scale (p<0.05). Furthermore, it was found that the predictors of moderate-to-high level of resilience were no use of sedatives/hypnotics (p<0.05) and moderate-to-high level of social support (p<0.01).

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.