Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The development of complex training modelto enhance acceleration ability in sprinters aged 14-16 years

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์

Second Advisor

ทศพร ยิ้มลมัย

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1086

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกเชิงซ้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการเร่งความเร็วของนักวิ่งระยะสั้น อายุ 14-16 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 การศึกษาคือ การศึกษาที่ 1 ทำการเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงที่มุมแตกต่างกัน โดยให้นักวิ่งระยะสั้น เพศชาย จำนวน 12 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 3 คน ทำการทดลองแบบถ่วงดุลลำดับ โดยแต่ละกลุ่มได้รับการทดสอบการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงที่มุมแตกต่างกัน คือ 3 องศา 6 องศา และ 9 องศา ใช้ระยะทางในการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดด 10 เมตร ทำสลับกันในมุมที่แตกต่างกันไปทุก ๆ สัปดาห์จนครบทุกกลุ่ม นักกีฬาทำการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดจำนวน 5 เที่ยวแต่ละเที่ยวพัก 5 นาที และนำข้อมูลคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำการศึกษาจำนวน 9 มัด มาทำหาค่าตัวแปรคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อประกอบด้วย เปอร์เซ็นต์ความต่างศักย์ขณะกล้ามเนื้อหดตัวสูงสุด ระยะเวลาในการทำงานของ EMG ไปยังจุดสูงสุด และอัตราการพัฒนาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ผลการทดลองพบว่า การวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดด้วยมุม 9 องศา มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อส่วนใหญ่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมุมของพื้นลาดเอียงมากขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ Vastus lateralis แสดงค่าเปอร์เซ็นต์ความต่างศักย์ขณะกล้ามเนื้อหดตัวสูงสุดมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของอัตราการพัฒนาคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อระหว่างพื้นราบและมุม 9 องศา ยกเว้นกล้ามเนื้อ Soleus ที่ไม่พบความแตกต่างในทุกมุมองศา การศึกษาที่ 2 ทำการศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงที่มีต่อความสามารถในการเร่งความเร็วของนักวิ่งระยะสั้นอายุ 14-16 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งระยะสั้นชายของโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นลาดเอียง กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นราบ และกลุ่มควบคุม ซึ่งกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความเร็วจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุด 10 เมตร 20 เมตร 30 เมตร 40 เมตร และ 50 เมตร พลังสูงสูด แรงปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่า Hmax และ Mmax ของกลุ่มกล้ามเนื้อ Gastrocnemius medialis และกล้ามเนื้อ Soleus ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีพลังสูงสูด แรงปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอเข่า มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งกลุ่มทดลองที่ 1 เป็นเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของความเร็วในทุกระยะ รวมทั้งมีค่า Mmax ของกลุ่มกล้ามเนื้อ Gastrocnemius medialis และ กล้ามเนื้อ Soleus มากกว่าก่อนการทดลอง ขณะที่กลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองในทุกตัวแปร นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 ยังมีการพัฒนาที่ดีกว่าของความเร็วจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุด 10 เมตร และแรงปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งสูงสุด มากกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดข้อเท้า กล้ามเนื้อเหยียดเข่า และกล้ามเนื้อเหยียดสะโพก ที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเร่งความเร็ว และการฝึกเชิงซ้อนแบบผสมผสานการฝึกด้วยแรงต้านกับการวิ่งเร็วแบบก้าวกระโดดบนพื้นลาดเอียง สามารถพัฒนาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับพลังระเบิดและการผลิตแรง ซึ่งเป็นตัวกำหนดความสามารถในการเร่งความเร็วในนั่งวิ่งระยะสั้นระดับเยาวชน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research was to develop the complex training model to enhance acceleration ability in sprinters aged 14-16 years. This research divided into two experiments. The first study aimed to investigate and compare electromyographic (EMG) activities of muscles during speed bounding on four difference slopes surface (9º, 6º, 3º and 0º) among youth male sprinters. Twelve male sprinters, aged between 14-16 years old (age = 15.75 ± 0.45 years, height = 1.72 ± 0.06 m, body mass = 59.25 ± 4.90 kg ) performed speed bounding on either 9º, 6º, 3º or 0º slope platform, using a counterbalanced design. The participants completed 10-m speed bounding from a standing start for five trials with 5 minutes rest period. Muscle activities from nine muscles including gluteus maximus (GM), rectus femoris (RF), vastus lateralis (VL), gastrocnemius medialis (GD), soleus (SL), tibialis anterior (TA), biceps femoris (BF), semitendinosus (SM), and pectoralis major (PM) were continuously recorded using a wireless surface EMG throughout the experiment. The EMG signal was analyzed in term of the maximum intensity, the time to peak, and the rate of EMG development. The results showed that EMG activity of most muscles were highest during propulsive phase of speed bounding at 9 º compared to others degrees, except for BF and SM which significantly decreased in EMG activities when the slope was increased. However, the time to peak EMG of all muscles examined showed no significant difference during propulsive phase of speed bounding across all slopes, but not at 9 º. Interestingly, the GD, VL, and GM were among the three greatest rate of EMG development compared to other slopes and muscles examined (p<0.05). The objective of the second study was to compare the efficacy of combined complex training with speed bounding on sloped surface on acceleration ability. The subjects were 30 male sprinters from Bangkok sports school. They were separated into three groups (CIG-incline speed bounding group, CHG- horizontal speed bounding group, and CON – control group). Both experimental groups trained two days per week for a period of six weeks. The sprint velocity of 10m, 20m, 30m, 40m, and 50m, peak power, peak vertical ground reaction force, peak barbell velocity, isokinetic peak torque of knee extension and flexion, H-reflex of gastrocnemius and soleus were collected before and after six weeks of training. Results showed that both interventions improved all power production, muscle strength and NVC parameters (p<0.05) except H-reflex whereas, there were no significant in all of the variables of CON from pre to post. Moreover, CIG improved greater 10m velocity and peak vertical ground reaction force compared with CHG (p<0.05). Furthermore, only CIG has a significant improvement of velocity in every distances and Mmax of GD and SL were also significant greater after 6-week of training (p<0.05). In conclusion, our data indicate that the extensor of ankle, knee, and hip may play a significant role for acceleration ability in sprinting performance. Moreover, we recommended CIG could be incorporated in a regular training regimen to induce greater muscle activation, force and explosive power which is crucial for acceleration ability in youth male sprinters.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.