Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The effects of modified ram daab song mue exercise on balance and physical fitness of the elderly
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
รุจน์ เลาหภักดี
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1083
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ ที่มีผลต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60–75 ปี เพศหญิง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ฝึกโปรแกรมออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดย 4 สัปดาห์แรกใช้เวลาวันละ 50 นาที และอีก 8 สัปดาห์ที่เหลือใช้เวลาวันละ 60 นาที (รวมอบอุ่นร่างกาย และคลายอุ่น) และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คนใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ผู้วิจัยทำการทดสอบความสามารถด้านการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ 12 สัปดาห์ ความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วความสามารถด้านการทรงตัวของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมเกือบทุกกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงการทดสอบการยืนด้วยขาสองข้างและแบบทดสอบความสามารถด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ Time up and go (TUG) ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยทางสถิติ 2) หลังจากฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ 12 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองพบว่า สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเกือบทุกกิจกรรมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงกิจกรรมเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า การลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที การงอพับศอก 30 วินาที และการนั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้าของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเดินย่ำเท้า 2 นาทีและการเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research is to study the effect of a modified RAM DAAB SONG MUE exercise program on balance and physical fitness of the elderly. Methods The subjects were 60-75 year old female volunteers, divided into 2 groups as follows: the first group was 20 people experimental subjects were trained with a modified RAM DAAB SONG MUE exercise program for 12 weeks, 3 days a week. The first 4 weeks were used: about 50 minutes per day, and the remaining 8 weeks 60 minutes per day (including warm up and warm up) and the second group was 20 people spent normal daily life. The researcher tested the balance and physical fitness of the experimental group and the control group before and after the experiment. The results were analyzed for statistical values and the statistical significance was set at the level of .05 Results 1) After 12 weeks of training, the balance of the elderly in the experimental group improved significantly at the level of 0.05 and when compared to the control group, the balance of the experimental group was better than the control group in 5 out of 7 activities with statistical significance at the level of 0.05. 2) After 12 weeks of training, the physical fitness of the elderly in the experimental group 4 out of 5 activities improved significantly when compared with the control group. It was found that 3 out of 5 activities in the experimental group were significantly better than the control group.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สาเขตร์, กรรณดนุ, "ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ที่มีต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9459.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9459