Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Private school academic management strategies based on digital intelligence concept of primary school students

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

นันทรัตน์ เจริญกุล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.942

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชน และกรอบแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยเป็นการวิจัยแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ โรงเรียนเอกชนโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จำนวน 345 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูประจำชั้น และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดและประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กรอบแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1) การมีอัตลักษณ์ทางดิจิทัล (2) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงาน (3) ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (4) ความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล (5) การติดต่อสื่อสารทางโลกดิจิทัล (6) การรู้เท่าทันสื่อในโลกดิจิทัล (7) การรู้สิทธิในโลกดิจิทัล 2) ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา คือ การพัฒนาหลักสูตร รองลงมาคือ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในขณะที่ด้านความปลอดภัยในโลกดิจิทัลและความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด จุดแข็งของการบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่วนจุดอ่อนของการบริหารวิชาการ คือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล จุดแข็งของอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา คือ การใช้งานในโลกดิจิทัล และการติดต่อสื่อสารทางโลกดิจิทัล ส่วนจุดอ่อนของอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา คือ ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล ความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล การรู้เท่าทันสื่อในโลกดิจิทัล การรู้สิทธิในโลกดิจิทัล และการมีอัตลักษณ์ดิจิทัล โอกาส คือ เทคโนโลยี และสภาพสังคม ส่วนภาวะคุกคาม คือ สภาพเศรษฐกิจ และการเมืองและนโยบายของรัฐ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมหลักสูตร เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล โดยมี 3 กลยุทธ์รอง 8 วิธีดำเนินการ (2) เพิ่มประสิทธิภาพการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล 3 กลยุทธ์รอง 11 วิธีดำเนินการ (3) ยกระดับการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล 5 กลยุทธ์รอง 27 วิธีดำเนินการ (4) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล 4 กลยุทธ์รอง 14 วิธีดำเนินการ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were: 1) to study the conceptual framework in the Academic Management of the private schools and the conceptual framework of the primary school students in term of the digital intelligence concepts; 2) to analyze the needs for the academic management of the private schools concerning the digital intelligence concept of primary school students, and 3) to develop strategies for the academic management of the primary school students in private school corresponding to the digital intelligence concept, using multiphase mixed methods.The population of this study was the group from the board of the private education commission in the primary school section from 345 different private schools, which the informants were the school director, chief academic officers, head of the department from the major subjects and teachers. The instruments used in the research were the evaluation form for the conceptual thinking, questionnaire, and the evaluation form for the appropriateness and possibilities of the strategic developments. Frequency, percentage, average, standard deviation, modify priority needs index (PNImodified) and content analysis were used to analyze the data. The results of the research indicated that : 1) the conceptual framework for the academic management consisted of 4 elements. (1) Curriculum development (2) learning and teaching (3) measurement and evaluation and (4) development of innovative media and technology for education. For the conceptual framework of the digital intelligence concept, there were 7 elements: (1) digital identity; (2) digital use; (3) digital safety; (4) digital emotional intelligence; (5) digital communication; (6) digital literacy and (7) digital rights. 2) The top priority needs for the academic management of the private school in term of digital intelligence for the primary students was curriculum development, followed by course evaluation, management of the course outline and innovative development of the media, innovations and technologies for academic purposes. Besides, digital safety and digital emotional intelligence were the priority needs for the conceptual framework of the digital intelligence concept. The strength of Academic Management was the development of media, innovation, and technology for education. The weaknesses of Academic Management were curriculum development, teaching and learning, and measurement and evaluation. And the strengths of digital intelligence of primary school students were Digital use and Digital communication. The weaknesses of digital intelligence of primary school students were Digital safety Digital emotional intelligence Digital literacy Digital identity and Digital rights, while the opportunities were technology and social conditions. Besides, the threats were economic condition, political, and government policies. 3.) Private School Academic Management Strategies Based on Digital Intelligence Concept of Primary School Students were composed of 4 major strategies, (1) Reinvent the curriculum to motivate the students to have a mindset of digital intelligence with 3 sub-strategies and 8 procedures (2) Increase the efficiency of the evaluation processes to urge the students to have a digital intelligence mindset with 3 sub-strategies and 11 procedures, (3) Leverage the learning resources to enhance the students on the digital intelligence thinking concept with 5 sub-strategies and 27 procedures, and 4) Promote the development of innovative media and technology for education to develop students to have digital intelligence with 4 sub-strategies and 14 procedures.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.