Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Product innovation model for promoting caring and relationship between caregivers and people with dementia
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
อุทัย ตันละมัย
Second Advisor
รัชลิดา ลิปิกรณ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.827
Abstract
การพัฒนานวัตกรรมตัวแบบผลิตภัณฑ์ในการดูแลและส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้มีภาวะสมองเสื่อม ได้นำแนวคิดการบำบัดด้วยความทรงจำให้ผู้ป่วยได้ระลึกถึงเรื่องราวในอดีต การบำบัดด้วยวิธีนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ดูแลในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม การบำบัดด้วยการระลึกความหลังแบบเดิมซึ่งใช้เพียงการดูรูปและเล่าเรื่องเท่านั้นมีความไม่สะดวก งานวิจัยนี้จึงนำแนวคิดการบำบัดดังกล่าวมาใช้ร่วมกับระบบรู้จำเสียงและระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติ โดยพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อให้การใช้งานง่ายและสะดวกมากขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยและกระบวนการการออกแบบ พัฒนา และศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์นวัตกรรมตัวแบบผลิตภัณฑ์ในการส่งเสริมการดูแลและสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้มีภาวะสมองเสื่อม ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงทดลองด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ในกลุ่มประชากรผู้มีภาวะสมองเสื่อมระยะแรกที่ยังสามารถสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คู่ คือ ผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม (ผุ้ดูแล 1 คน และผู้มีภาวะสมองเสื่อม 1 คน นับเป็น 1 คู่) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คู่ โดยกลุ่มทดลองจะใช้งานแอปพลิเคชั่น 1สัปดาห์ มีการเก็บข้อมูลสัมพันธภาพและความผาสุกทางจิตใจสำหรับกลุ่มทดลอง 2 ครั้ง ทั้งก่อนและหลังการใช้แอปพลิเคชั่น และกลุ่มควบคุมเพียงหนึ่งครั้ง ผลการศึกษา พบว่า ค่าสัมพันธภาพและความผาสุกทางจิตใจของคู่ทดลองดีขึ้นหลังการใช้งานแอปพลิเคชั่น ด้วยระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และค่าสัมพันธภาพและความผาสุกทางจิตใจของกลุ่มทดลองหลังใช้แอปพลิเคชั่นดีกว่ากลุ่มควบคุมเช่นกัน สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ในมุมมองของผู้ใช้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน, การรับรู้ด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพ, และการรับรู้ถึงประโยชน์ อยู่ในระดับสูง 4.21, 4.20, และ4.04 ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The development of a product innovation model to promote caring and relationship between caregivers and people with dementia uses the reminiscence therapy that enables the patient to recall old memories. This type of treatment requires the cooperation of a caregiver to provide correct and useful information about people with dementia. Traditional reminiscence therapy that only uses picture-viewing and story-telling is inconvenient. This research then combines the concept of Reminiscence therapy with the speech recognition system and the natural language processing system to develop the application that is easier and more convenient use. The objective of this research is to study the factors and design process, develop and do a feasibility study of possibly commercialize the product innovation model used to promote caring and relationship between caregivers and people with dementia. The researcher employs experimental research with purposive sampling methods from the population of dementia people in the early stage who are still able to communicate and help themselves. The samples are 60 pairs of caregivers and the people with dementia (one caregiver and one dementia person constitute one pair). The samples are divided into two groups, experimental and control, for thirty pairs each. The experimental group will use the application for one week. Data on the relationships and psychological well-being will be collected twice for the experimental group, before and after the use of the application, and only once the control group. The results show that the relationships and psychological well-being scores of the experimental pairs are better after using the application with the 0.05 level of significance. Likewise, the relationships and psychological well-being scores of the experimental group after application usage are higher than the control group. For the feasibility of commercialization according to the user standpoint, the average ratings of Perceived ease of use, Perceived benefit toward relationship promotion, and Perceived usefulness are high, 4.21, 4.20, and 4.04, respectively.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วัชรสารทรัพย์, ทักษยา, "นวัตกรรมตัวแบบผลิตภัณฑ์ในการดูแลและส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้มีภาวะสมองเสื่อม" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9203.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9203