Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Innovation of heritage local wisdom for cultural entrepreneurs

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

Second Advisor

พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.822

Abstract

ประเทศไทยสั่งสมภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้พื้นฐานแสดงออกมาในลักษณะของขนบธรรมเนียม ประเพณี และงานหัตถกรรมซึ่งมีอัตลักษณ์แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ทำการขับเคลื่อนประเทศโดยใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พัฒนางานหัตถกรรมที่มีรากฐานมาจากมรดกทางภูมิปัญญาของชุมชนเพื่อให้สามารถผลิต ต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า ในขณะที่มีการพัฒนาบนฐานภูมิปัญญากลับพบปัญหาด้านการถดถอยของภูมิปัญญาดั้งเดิม ภูมิปัญญาหลายด้านมีความเสี่ยงในการสูญหาย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินธุรกิจ ในกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เชิงภูมิปัญญา ค้นหาองค์ความรู้ด้านกระบวนการสืบทอดมรดกภูมิปัญญามาสังเคราะห์นวัตกรรมกระบวนการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างธนาคารภูมิปัญญาเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ และประเมินผลการยอมรับรูปแบบนวัตกรรมขับเคลื่อนการสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย 1) การวิจัยเอกสารวิชาการ จำนวน 36 บทความ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง 23 ราย 3) การวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 308 ราย ใช้ผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและใช้ผลจากการวิจัยเชิงปริมาณมาช่วยเสริมให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้ง ผลการวิจัยพบว่านวัตกรรมกระบวนการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เชิงภูมิปัญญา มีปัจจัยสำคัญ 5 ประการ คือ 1) แรงจูงใจในการสืบทอด 2) บุคลากรในการสืบทอด 3) ภูมิปัญญา 4) กลวิธีการถ่ายทอด 5) การจัดการ โดยกระบวนการการสืบทอดมีลักษณะเป็นพลวัต มีความสมดุลและไม่สิ้นสุด ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผู้ส่งมอบความรู้ภูมิปัญญา กระบวนการสืบทอด และ ผู้รับมอบความรู้ภูมิปัญญา เป็นนวัตกรรมชุมชนที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นวัตกรรมกระบวนการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ภูมิปัญญาถูกรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ในธนาคารภูมิปัญญา (เว็บไซต์สล่าเซ็นเตอร์) ผลการประเมินการยอมรับนวัตกรรม พบว่านวัตกรรมนำเสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 สามารถนำไปใช้งานได้จริง ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57 และสามารถสะท้อนคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 โดยการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมอยู่ในขั้นความรู้และขั้นการจูงใจ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Thailand accumulated Thai Local wisdom as a basis of knowledge which is represented in the forms of customs, traditions, culture, and handicrafts with different identities in each locality. Moreover, Thailand uses the creative economy to drive the country. For instance, the handicrafts based on the each heritage local wisdom are developed in order to produce, enhance and create value-added products. Even though the development process is based on wisdom, there are the problems involving with the traditional wisdom regression. Various dimensions of wisdom are possibly at risk of vanishing. Therefore, this study aimed to explore the operations of a group of cultural entrepreneurs in present days and to discover the basis of knowledge of the heritage local wisdom transmission process in order to create the heritage local wisdom transmission innovation, create the local wisdom knowledge bank a storage and dissemination hub of the basis of knowledge, and evaluate the acceptance of the model of the heritage local wisdom transmission innovation. This research applied the mixed methods including 1) Academic documentary research with 36 articles 2) Qualitative research by in-depth interviewing 23 participates 3) Quantitative research by surveying from 308 participates. This study focused mainly on the result from qualitative research while the result from quantitative research is added as a supplement. The result of this study revealed the 5 significant aspects of the heritage local wisdom transmission innovation for cultural entrepreneurs. These aspects included 1) The persuasion of transmission 2) Personnels who involve with the transmission 3) Local wisdom 4) Transferring strategies 5) The management. Moreover, the result indicated that transmission process are dynamic, balanced and infinite. This process included 3 aspects which are the senders of the wisdom knowledge, the transmission process and the receivers of the wisdom knowledge. The innovation process is also a community innovation which supports the sustainable development. The heritage local wisdom transmission innovation and the basis of knowledge were accumulated, stored, and dissimilated through the knowledge bank (salacenter website). The assessment result of the innovation adoption discovered that the innovation could provide solutions to problems at the highest level with an average of 4.63, could be put into practice at highest level with an average of 4.57, and could reflect the value of local wisdom at the highest level with an average of 4.56. The innovation-decision adoption is at the knowledge stage and the persuasion stage.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.