Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Conversion of palm olein to biojet fuel over nickel supported on beta and HY zeolites
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Department (if any)
Department of Chemical Technology (ภาควิชาเคมีเทคนิค)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เคมีเทคนิค
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.567
Abstract
งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานที่มีเสถียรภาพในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพิ่มปริมาณโซ่กิ่ง โซ่ตรง และลดปริมาณอะโรมาติก จากปาล์มโอเลอินบนนิกเกิลที่รองรับด้วยซีโอไลต์ชนิดบีตาและเอชวาย ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย อุณหภูมิ 430 - 460 องศาเซลเซียส ปริมาณนิกเกิล ร้อยละ 0 – 15 โดยน้ำหนัก ความดันบรรยากาศไฮโดรเจนเริ่มต้น 0 – 10 บาร์ และน้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยา ร้อยละ 0 – 5 โดยน้ำหนัก ที่เวลาในการทดลอง 5 ชั่วโมง ภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยาแครกกิง ดีออกซิจีเนชั่น และไอโซเมอไรเซชั่นต่อการเกิดน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยาน คือ อุณหภูมิ 430 องศาเซลเซียส ที่ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 10 บาร์ โดยใช้นิกเกิล ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักบนซีโอไลต์ชนิดเอชวาย ปริมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนักเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นเวลา 5 ชั่วโมง โดยให้ร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมัน 63 ร้อยละผลได้ของแก๊ส 30 และร้อยละผลได้ของของแข็ง 7 โดยน้ำหนัก ซึ่งองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้มีร้อยละผลได้ของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานร้อยละ 56 แก๊สโซลีนร้อยละ 28 ดีเซลร้อยละ13 และกากน้ำมันร้อยละ3 โดยการเลือกสรรของผลิตภัณฑ์น้ำมันเป็นดังนี้ ไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรงร้อยละ 58 อะโรมาติกร้อยละ 23 และโซ่กิ่งร้อยละ 19 ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The aim of this study is to produce quality jet biofuel with high amount of normal paraffins, branch chain, low aromatic hydrocarbons and low oxygen content from palm olein using Beta and HY zeolites supporting Ni as catalyst in a micro reactor. The experiments were done by varied operating conditions as reactor temperature 360-460 ⁰C, mass of nickel 0-15% by weight, initial hydrogen pressure 0-10 bar and mass of catalyst 0-5% by weight with reaction time 5 hours. From the results, it was found that the reaction temperature, amount of nickel, initial hydrogen pressure and weight of catalyst were significantly affected to the oil yield and product selectivity. The analyst oil product from simulated distillation gas chromatography and gas chromatography-mass spectrometer was found that the reaction temperature is 430⁰C and initial hydrogen pressure 10 bar by using 5%Ni/Beta Zeolite as catalyst for 5 hours. This was optimum condition of thermal cracking, deoxygenation and isomerization that gave the highest yield and quality of bio jet. The oil yield was 63% by weight, 56% bio jet, 28% gasoline, 13% diesel and 3% long residues and the selectivity of oil product was 58% alkane, 23%aromatic and 19% branch chain respectively.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขอนันต์, ธนวัฒน์, "การเปลี่ยนปาล์มโอเลอินเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานบนนิกเกิลที่รองรับด้วยซีโอไลต์ชนิดบีตาและเอชวาย" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8943.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8943