Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การใช้ภาพรังสีปริทรรศน์ดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Pornchai Jansisyanont

Second Advisor

Vannaporn Chuenchompoonut

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Oral and Maxillofacial Surgery (ภาควิชาศัลยศาสตร์ (คณะทันตแพทยศาสตร์))

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Oral and Maxillofacial Surgery

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.381

Abstract

Purpose: To investigate the correlation between panoramic radiographic indices and osteoporosis, and to determine whether digital panoramic radiographs could be used as a screening tool for the diagnosis of osteoporosis in Thai postmenopausal women. Materials and Methods: A cross-sectional study of sixty Thai postmenopausal women with and without osteoporosis. The subjects were divided into three groups based on diagnosis by dual-energy X-ray absorptiometry (DXA): normal, osteopenia, and osteoporosis equally in each group. The panoramic radiographic indices measured were mental index (MI) and mandibular cortical index (MCI). Pearson’s correlation test was performed to analyze any correlation between MI, MCI, and BMD (Bone Mineral Density) T-scores. To determine the ability of the indices to classify disease and investigate the cut-off value of MI for diagnosis of osteoporosis, the receiver operating characteristic analysis was performed. The P value was set at 0.05. Results: The MCI was significantly different in the 3 different groups (p<0.001). There were correlations between the panoramic radiographic indices and BMD in the regions of the hip bone and the lumbar spine. MI was positively correlated with BMDs: lumbar spine: r=0.566, femoral neck: r= 0.554, and total hip: r= 0.524 (p<0.001). The MCI was negatively correlated with BMDs: lumbar spine: r= -0.514, femoral neck: r= -0.507, total hip: r=-0.513 (p<0.001). The cut-off value of MI for the reduced skeletal bone mineral density groups (both osteopenia and osteoporosis groups) was 3.9 mm and for the diagnosis of osteoporosis was 3.8 mm. Conclusion: The results of this study suggest that MI and MCI can be used as a screening tool for diagnosis of osteoporosis in postmenopausal women.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ของดัชนีจากภาพรังสีปริทรรศน์ และโรคกระดูกพรุน รวมถึงหาว่าภาพรังสีปริทรรศน์สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดกรอง โรคกระดูกพรุนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนได้หรือไม่ วิธีดําเนินการวิจัย: งานศึกษาแบบตัดขวางในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนจำนวน 60 คนทั้งที่เป็นและไม่เป็นโรคกระดูกพรุน โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยได้ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 20 คน ตามการวินิจฉัยโรค โดยแบ่งเป็น ปกติ,กระดูกบาง และเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งวินิจฉัยจากการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) แบบใช้รังสีเอกซ์ชนิดสองพลังงาน (Dual Energy. X-ray Absorptiometry, DXA) การวัดค่าดัชนีจากภาพรังสีปริทรรศน์จะวัด 2 ดัชนี คือ Mental index (MI) และ Mandibular cortical index (MCI) และใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เพื่อหาความสัมพันธ์ของ MI, MCI และ BMD และใช้ Receiver Operating Characteristic curve (ROC curve) เพื่อหาความสามารถในการแยกโรค ความสามารถในการทำนายโรค ของ MCI และ MI รวมถึงหาจุดตัดของค่า MI ในการทำนายโรคกระดูกพรุน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.05 ผลการวิจัย: MCI มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 3 กลุ่ม มีความสัมพันธ์กันระหว่างดัชนีจากภาพรังสีปริทรรศน์และค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกทั้งในบริเวณกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง โดยพบว่า MI มีความสัมพันธ์เป็นเชิงบวกกับความหนาแน่นของมวลกระดูกทั้ง 3 ตำแหน่งดังต่อไปนี้ กระดูกสันหลังส่วนเอว r= 0.566, ส่วนคอของกระดูกสะโพก r=0.554 และส่วนสะโพก r=0.524 สำหรับ MCI มีความสัมพันธ์เป็นเชิงลบกับความหนาแน่นของมวลกระดูกทั้ง 3 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ กระดูกสันหลังส่วนเอว r= -0.514, ส่วนคอของกระดูกสะโพก r=-0.507 และส่วนสะโพก r=-0.513 ค่าตำแหน่งจุดตัดของ MI ที่เหมาะสมในการวินิจฉัยภาวะความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ (กลุ่มกระดูกบางและกระดูกพรุน) คือ 3.9 มม. และสำหรับการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนอยู่ที่ 3.8 มม. สรุป: จากผลการศึกษาในงานวิจัยนี้พบว่า MI และ MCI สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.