Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Graphic design from feline philosophy
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิไล อัศวเดชศักดิ์
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Creative Arts (ภาควิชานฤมิตศิลป์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นฤมิตศิลป์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.230
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากแนวคิดปรัชญาแมว และศึกษาหากลยุทธ์ เพื่อเผยแพร่แนวทางการออกแบบเรขศิลป์ที่ได้จากแนวคิดปรัชญาแมว ดําเนินวิธีการวิจัยโดย 1. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดปรัชญาแมว 2. วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ วิเคราะห์ร่วมกับวรรณกรรมและเพื่อระบุแนวทางที่เหมาะสม สำหรับการออกแบบกลยุทธ์ของกรณีศึกษา 3. สร้างแบบสอบถามจากสารที่ต้องการจะสื่อ และกลยุทธ์การใช้สื่อ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ และใช้การกรองด้วยคําสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค้นพบแนวทางและกลยุทธการออกแบบเรขศิลป์จากแนวความคิดปรัชญาแมว ได้แก่ การออกแบบอย่างละเอียดอ่อน การออกแบบอย่างเจริญสติ และ การออกแบบอย่างนอกขนบ 2. ค้นพบลักษณะต้นแบบบุคลิกทั้งหมด 5 แบบคือ แมวขี้ตกใจ เหมาะสมกับคำว่า นุ่มนวล สงบเสงี่ยม และ เงียบสงบ แมวนักกิจกรรม เหมาะสมกับคำว่า คล่องแคล่ว มีชีวิตชีวา และ เปิดเผย แมวจอมบงการ เหมาะสมกับคำว่า แรงกล้า ฟุ่มเฟือย และ เต็มไปด้วยกำลัง แมวตามใจฉัน เหมาะสมกับคำว่า มีการเคลื่อนไหว ไม่อ่อนน้อม และ อิสระ แมวเป็นมิตร เหมาะสมกับคำว่า เป็นมิตร น่าสัมผัส และ น่ารักใคร 3. แนวทางการออกแบบเรขศิลป์จากแนวความคิดปรัชญาแมวสำหรับการออกแบบคู่มือการออกแบบเรขศิลป์ ดูเป็นมิตร, ดูสงบ สบาย, ดูเป็นธรรมชาติ ได้สารที่ต้องการจะสื่อคือ 'การทำแบรนด์กับอาจารย์เซ็นขนนุ่ม'
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to explore graphic design guidelines and strategies from feline philosophy. The following methods were employed: 1. The study involved gathering information about feline philosophy and obtaining responses from graphic design experts through a questionnaire. 2. The questionnaire was developed by analyzing the insights of graphic design experts and reviewing relevant literature. 3. Personality conveyed through messages was analyzed, and media strategies were identified by interviewing the target audience and examining keywords. The research yielded the following results: 1. Guidelines and strategies for graphic design from feline philosophy, including Subtle Design, Mindful Design, and Unconventional Design. 2. Five cat archetypes were identified: Skittish cat, associated with tenderness, modesty, quietness; Outgoing cat, associated with activeness, liveliness, openness; Dominance cat, associated with intensity, extravagance, forcefulness; Spontaneous cat, associated with dynamism, untamed nature, freedom; Friendly cat, associated with friendliness, agreeableness, amiability. 3. The guidelines of the graphic manual book were friendly, peaceful, natural. The key message was 'Branding with Fluffy Zen Master.'
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หล่อตระกูล, ภาพิมล, "การออกแบบเรขศิลป์จากแนวคิดปรัชญาแมว" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8312.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8312