Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Reusable Food Packaging Return Method for Online Food Delivery
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
มาโนช โลหเตปานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.218
Abstract
ความนิยมของแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับปริมาณขยะพลาสติก ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาแนวทางการ ลดขยะพลาสติกโดยใช้แนวคิดโลจิสติกส์ย้อนกลับ และเศรษฐกิจหมุนเวียนในการหารูปแบบการใช้ งานภาชนะใช้ซ้ำได้ที่ผู้บริโภคยอมรับ โดยการเก็บแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการแอพพลิเคชันสั่ง อาหารออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงอันดับใน การหาปัจจัยของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยด้านทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ และยอมรับ การคืนภาชนะด้วยการมารับคืนถึงที่ผ่านไรเดอร์ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น และความสะอาดของภาชนะโดยกว่า 3 ใน 4 ยอมรับค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 เท่านั้น ผลการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าทัศนคติต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผล ต่อระดับการยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์เดียวที่ส่งผลต่อระดับ การยอมรับ คือ อายุ ปัจจัยที่มีอิทธิพลอื่น ๆ ได้แก่ รูปแบบการเดินทางในชีวิตประจำวัน และ ความถี่ในการใช้บริการสั่งอาหาร โดยพบว่าผู้มีอายุน้อยมีโอกาสที่จะยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำ ได้สูงกว่าผู้มีอายุมาก ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ารายได้และระดับการศึกษาไม่ส่งผลต่อระดับการ ยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ และผู้ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทางยอมรับการใช้งาน มากกว่าผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The ever growing popularity of online food delivery application comes with the increase in single-use plastic waste and environmental problem. This research aims to study means to reduce plastic waste using the concept of return logistics and circular economy. Questionnaires were collected from online food delivery applications users in Bangkok metropolitan region regarding the acceptance of reusable food container. A method of ordinal logistic regression was used to find demographic, behavioral, and attitudinal factors that affect the acceptance level. The results show that most consumers are likely to accept reusable food containers with an on-site pick-up service for return. Increased cost and hygiene are major concerns for consumers, where three fourth of consumers accept only 5% increased cost. Regression analysis found that attitudes towards environmental issues stemming from single use plastic containers were the main factors with age as the only demographic factor with significance. Other significant factors are daily mode of transportation and usage frequency. Younger consumers are more likely to accept the use of reusable food containers. On contrary to initial hypotheses, income level and education level have no significant effects on the acceptance level. And private vehicle users are more likely to accept the use of reusable containers.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เพ็ญสิริพงศ์, สิริพงศ์, "รูปแบบการส่งคืนภาชนะใช้ซ้ำได้สำหรับการสั่งอาหารออนไลน์" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8300.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8300