Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศารทูล สันติวาสะ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.172
Abstract
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และมัคคุเทศก์ก็เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะดูแลนักท่องเที่ยว ประกอบกับพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมมัคคุเทศก์และการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ที่มีผลต่อการส่งเสริมอาชีพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในท้องถิ่นหรือชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ดังนี้ 1. คุณสมบัติด้านอายุของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น กล่าวคือ มัคคุเทศก์อื่นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ แต่มัคคุเทศก์ท้องถิ่นได้รับยกเว้นคุณสมบัติด้านอายุหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไม่ได้จำกัดอายุนั้นเอง อย่างไรก็ดี มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่ต้องมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งหากไม่มีการกำหนดอายุมัคคุเทศก์ท้องถิ่น อาจส่งผลให้มัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่มีอายุน้อยขาดวุฒิภาวะในการดูแลนักท่องเที่ยว อันส่งผลต่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนได้ 2. คุณสมบัติด้านภูมิลำเนาของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น กล่าวคือ การกำหนดคุณสมบัติของ มัคคุเทศก์ท้องถิ่นมิได้กำหนดให้เฉพาะบุคคลในภูมิลำเนาในเขตพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น ๆ จึงอาจส่งผลให้บุคคลที่อยู่นอกเขตพื้นที่เฉพาะเข้าไปขออนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นได้ ซึ่งขัดกับหลักการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นหรือชุมชน 3. ความชัดเจนในข้อกำหนดห้ามมัคคุเทศก์อื่นปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นหรือชุมชนที่ ได้รับการยกเว้นคุณสมบัติมัคคุเทศก์ กล่าวคือ ในกรณีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไม่เพียงพอ มัคคุเทศก์ประเภทอื่นจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ และกรณีที่มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นหรือชุมชนไม่จัดหามัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้นั้นยังไม่ชัดเจนว่ามัคคุเทศก์ประเภทอื่นจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงทำการศึกษาหลักการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หลักการมัคคุเทศก์ และหลักความได้สัดส่วน ตลอดจนได้นำกฎหมายของประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอายุ และภูมิลำเนาของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ตลอดจนความชัดเจนในข้อกำหนดห้ามมัคคุเทศก์อื่นปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นหรือชุมชนที่ได้รับการยกเว้นคุณสมบัติมัคคุเทศก์ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์แก่การท่องเที่ยวไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชัยประเสริฐกุล, สมชนก, "ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8254.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8254